วันจันทร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 💗 3

วันศุกร์  ที่ 25   มกราคม  พ.ศ. 2562


ความรู้ที่ได้รับ

         😃  กิจกรรมที่ 1 

         อาจารย์ได้ให้กระดาษขาวเทาแบบแข็งแผ่นใหญ่เพื่อที่จะนำไปตัดแบ่งครึ่งกับเพื่อนซึ่ง  1 แผ่นใหญ่ได้ทั้งหมด 4 คน และอาจารย์ได้อธิบายรายละเอียดของสื่อที่เราจะทำกันตามขั้นตอนอย่างเข้าใจง่ายมากขึ้น

        อุปกรณ์การทำสื่อ

1.กระดาษขาวเทาแบบแข็ง  ( แผ่นใหญ่ )
2.กรรไกร
3.มีดคัตเตอร์
4.สีเมจิก
5.ดินสอ
6.แผ่นรองตัด
7.ไม้บรรทัด

      ขั้นตอนการทำสื่อ

👉ขั้นตอนที่ 1  นำกระดาษขาวเทาแบบแข็งแผ่นใหญ่มาตัดแบ่งครึ่งซึ่งจะได้ทั้งหมด 4 คน หรือ 4 แผ่นเท่าๆกัน 


👉ขั้นตอนที่ 2   นำมาวัดขีดแบ่งช่องเป็น  แนวนอน 10 ช่อง  แนวตั้ง 4 แถว วัดช่องละ 2 นิ้ว  แล้วตัดออก ซึ่งได้ทั้งหมด  2 ชุด  ชุดละ 2 แถว



👉ขั้นตอนที่ 3  นำกระดาษขาวเทาที่เหลือในส่วนที่ตัดออกเพื่อที่จะมาทำส่วนต่อไป ซึ่งนำกระดาษที่ขีดเป็นช่องเสร็จแล้วนำมาวางแนบเป็น 3 ช่อง 2 แถว แล้วขีดเส้นนำไปตัดออกจำนวน 2 แผ่น และวัด 2 นิ้ว 2 ช่อง ขีดลงมาตามความยาว สามารถใช้สีเมจิกขีดเพื่อให้เห็นเส้นความชัดเจนของช่อง




👉ขั้นตอนที่ 4  นำกระดาษกาวย่นติดข้างหลังกระดาษแผ่นที่ตัดคือ แผ่นยาวกับแผ่นเล็กให้เชื่อมติดกัน ทำแบบนี้ทั้ง 2 ชุด แล้วนำเทปใสมาติดข้างหน้าระหว่างรอยเชื่อมเหมือนเดิมสามารถพับได้

👉ขั้นตอนที่ 5  เขียน สิบ  หน่วย ในช่องของแผ่นเล็ก

👉ขั้นตอนที่ 6  นำกระดาษขาวเทาที่เหลือมาขีดวัดช่องเพื่อจะเขียนตัวเลข  0-9  โดยวัดช่องละ 2 นิ้ว จำนวน 10 ช่อง แล้วแต่ละช่องแบ่งครึ่งเป็น 1 นิ้ว ได้ทั้งหมด 20 ช่อง เขียนตัวเลข นำไปตัดออกจะได้ทั้งหมด ชุดละ 10 ชิ้น จำวนตัวเลข 0-9 เป็น 2 ชุด

👉ขั้นตอนที่ 7  นำกระดาษที่เขียนตัวเลข 0-9 ที่ตัดเป็นชิ้นเสร็จเรียบร้อยแล้ว มาวางไว้ที่ช่อง สิบ  หน่วย




         สิ่งที่ได้รับจากกิจกรรมนี้ ได้ทำสื่อเกี่ยวกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กที่เราสามารถทำได้ง่ายโดยใช้อุปกรณ์ที่ไม่ต้องเยอะมากก็สามารถทำได้ และเราสามารถนำไปใช้ได้ในอนาคตเมื่อเราสอนเด็ก 




         😃  กิจกรรมที่ 2 

      อาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม  2 กลุ่มเพื่อที่จะทำกิจกรรมวิธีสอนคณิตศาสตร์ด้วยดินน้ำมัน ซึ่งได้กลุ่มละ 13 คน และ 14 คน หนูได้อยู่กลุ่มที่มี 14 คน 






      อาจารย์ให้ปั้นดินน้ำมันเป็นผลไม้มาคนละ  1 ชนิด อะไรก็ได้ซึ่งแต่ละคนจะได้ดินน้ำมันคนละสี หนูได้ดินน้ำมันสีส้ม ปั้นเป็นส้มมา 1 ผล ต้องปั้นขนาดเล็กตกแต่งให้สวยงาม  การปั้นเป็นผลไม้เพื่อจะนำไปสู่การสอนคณิตศาสตร์

     


         เมื่อทุกคนปั้นเสร็จอาจารย์ให้บอกชื่อผลไม้ที่ตนเองปั้นและบอกคำศัพท์ภาษาอังกฤษของผลไม้นั้น  อย่างเช่น  
Mangosteen             มังคุด                 
Custard   apple        น้อยหน่า               
Rose  apple              ชมพู่                   
Tamarind                 มะขาม            
Durian                     ทุเรียน               
Apple                      แอปเปิ้ล   
Orange                    ส้ม                   
Watermelon            แตงโม                     
Banana                   กล้วย                
Grape                     องุ่น                
Strawberry             สตอเบอร์รี่      
 Mango                  มะม่วง
Cherry                   เชอร์รี่               
Pomelo                  ส้มโอ

      หลังจากนั้นอาจารย์ให้แต่ละกลุ่มไปหยิบสื่อที่เราทำเสร็จแล้วในกิจกรรมที่ 1 นำมากลุ่มละ 1 ชุด ได้นำมาวางไว้ตรงกลางเพื่อที่จะสามรถมองเห็นได้ทุกคนแล้วนำผลไม้ที่แต่ละคนได้ปั้นมาเรียงในช่องของสื่อได้ทั้งหมด  14 ผล ซึ่งอาจารย์ได้ถามว่าเมื่อเราสอนคณิตศาสตร์เด็กจะได้อะไรบ้าง จะได้เรื่องรูปทรง  การนับจำนวน  การบอกจำนวน  แล้วเราสามรถนำตัวเลขมาวางไว้บนผลไม้เพื่อได้บอกจำนวนของผลไม้ 




         อาจารย์ให้นำสื่อชุดที่  2  มาวางแล้วแบ่งผลไม้ออกเป็น 2  กลุ่ม ซึ่งเราจะแบ่งได้นั้นต้องใช้เกณฑ์ในการแบ่ง  กลุ่มหนูใช้เกณฑ์ผลไม้ที่เป็นรูปทรงกลม ได้กลุ่มละ  7 ผล  สามารถสอนในเรื่องของการบวกลบได้ เรายังไม่เหมาะสมกับการสอนเด็กปฐมวัยเพราะเป็นนามธรรม เราสามารถทำได้โดยการนำผลไม้หยิบออกครั้งละ  1  ผล  เมื่อเราแบ่งเป็น 2 กลุ่ม อยากทราบว่าอันไหนมากกว่ากัน ใช้วิธีการหยิบออก 1 ต่อ 1 วิธีการวางคือเรียงจากซ้ายไปขวา


การแบ่งใช่้เกณฑ์ผลไม้ที่เป็นรูปทรงกลม



                    เมื่อแบ่งกลุ่มเป็น 2 กลุ่มอีกครั้ง ใช้เกณฑ์ผลไม้ที่มีหนาม  ได้กลุ่มละ  1 ต่อ 13 ผล


การแบ่งใช้เกณฑ์ผลไม้ที่มีหนาม


           หลังจากนั้นเมื่อเสร็จกิจกรรมได้เก็บอุปกรณ์ให้เรียบร้อยแล้วมานั่งรวมกันเป็นครึ่งวงกลมเหมือนเดิมเพื่อที่จะพูดคุยว่าวันนี้เราได้อะไรบ้าง 
           การใช้เกณฑ์ของหลักคณิตศาสตร์คือการนำมาเป็นตัวในการพิจารณาสำหรับเด็กไม่ควรใช้หลายเกณฑ์ อย่างเช่น ผลไม้ที่มีสีเขียว เด็กใช้ทักษะการสังเกตเชื่อมโยงกับเกณฑ์เกิดการเปรียบเทียบ เมื่อนำออกทำให้ลดลงหรือน้อยลง  การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ลงมือกระทำส่งข้อมูลไปยังสมองแล้วซึมซับ เหมือนน้ำที่แตกกระจายพอเจอสิ่งใหม่บางอย่างเหมือนความรู้เดิมทำให้เกิดเป็นสิ่งใหม่
                      กระบวนการของสมอง    👉     การรับรู้

          เมื่อเรานำสิ่งที่รับรู้มาใช้ปรับพฤติกรรมของเราหรือเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเมื่อนั้นเกิดการเรียนรู้เพื่อการอยู่รอด

         สื่อการสอนคณิตศาสตร์เป็นเครื่องมือที่มีความจำเป็นสำหรับเด็กปฐมวัยอย่างมาก เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ให้เด็กปฐมวัยสามารถเรียนรู้ได้จากสื่อที่เป็นรูปธรรมได้ดีกว่าสื่อที่เป็นนามธรรม นอกจากนี้เด็กปฐมวัยมีช่วงความสนใจสั้น จึงมีความคิดว่าควรเปิดโอกาสให้เด็กได้ลงมือกระทำ ปฏิบัติการและค้นพบความรู้ด้วยตนเอง ดังนั้นสื่อการสอนจึงมีความจำเป็นและมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ในระดับปฐมวัย เพราะสื่อจะช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ให้เด็กปฐมวัยหลายประเภท ได้แก่ วัสดุอุปกรณ์ เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้และสามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอนได้

บรรยากาศในห้องเรียน




        
       👾คำศัพท์👾

1.Orange                 ส้ม
2.Tamarind              มะขาม
3.Pomelo                 ส้มโอ
4.Mangosteen          มังคุด
5.Grape                    องุ่น
6.Molding clay        ปั้นดินน้ำมัน
7.Number                ตัวเลข
8.Round  shape        รูปทรงกลม
9.Count                    จำนวนนับ
10.Assimilation        การดูดซึม




การประเมิน

ประเมินตนเอง  💗 วันนี้ได้ทำสื่อเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ทำให้รู้วาไม่ยากอย่างที่คิดได้ฝึกทำและทำกิจกรรมปั้นดินน้ำมันได้ฝึกคิด เรียนรู้วิธีการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

ประเมินเพื่อนร่วมห้อง  💗  เพื่อนๆแต่ละคนได้ตั้งใจทำสื่อส่วนบางคนทำเสร็จก่อนเพื่อนๆคนอื่นๆได้ช่วยกันสอน 

ประเมินอาจารย์  💗   อาจารย์ได้อธิบายการทำสื่ออย่างละเอียดทำให้เข้าใจและได้สอน  ปฎิบัติจริงในเรื่องวิธีการสอนคณิตศาสตร์ให้เด็กปฐมวัยทำให้เรียนรู้ได้ดี










วันอาทิตย์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 💗 2

วันศุกร์ ที่ 18  มกราคม  พ.ศ. 2562


ความรู้ที่ได้รับ
     
     


       ในการเรียนการสอนสำหรับวันนี้อาจารย์ได้อธิบายรายละเอียดของรายวิชาการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยซึ่งทำให้เรารู้ว่าวิชานี้เรียนอะไรบ้าง และงานที่อาจารย์ได้มอบหมายในรายวิชานี้มีอะไรบ้างทำให้เราได้รู้ล่วงหน้าในการเตรียมตัว  สิ่งสำคัญคือทุกคนต้องมี BLOGGER ของตนเอง ซึ่งแต่ละคาบจะต้องบันทึกลงทุกครั้ง และมีการจดคำศัพท์  10 คำ  มีการประเมินในห้องเรียน
      หลังจากนั้นอาจารย์ได้พูดรายละเอียดของบล็อกซึ่งอาจารย์เปิดดูของแต่ละคนและได้บอกว่าควรไปปรับหรือแก้ไขตรงไหนบ้างทำให้ทุกคนได้รู้ของตนเองเพื่อเป็นแนวทางการแก้อย่างถูกต้อง อย่างเช่น 
สิ่งที่ต้องมี คือ  ชื่อและคำอธิบายบล็อก  , รูปและข้อมูผู้เรียน,   ปฎิทินและนาฬิกา   , เชื่อมโยง บล็อกอาจารย์ผู้สอน  , หน่วยงานสนับสนุน , แนวการสอน , งานวิจัยด้านคณิตศาสตร์  ห้ามเกิน  10 ปี , บทความ,  ตัวอย่างการสอน , สื่อคณิตศาสตร์  ( เพลง ,  เกม , นิทาน , แบบฝึกหัด , ของเล่น  )  ลิงก์บล็อกของเพื่อนไว้ทุกคน

👉  กิจกรรม  Mapping



         อาจารย์ได้ให้กระดาษคนละ 1 แผ่น เพื่อที่จะทำ Mapping หัวข้อเรื่อง  การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ก่อนที่จะลงมือทำอาจารย์ได้ให้ทุกคนคิดก่อนว่าสิ่งของในห้องเรียนมีอะไรบ้างที่เป็นคณิตศาสตร์ บอกคนละ 1 อย่าง เช่น ตู้   เพื่อน  กระดาน  หน้าต่าง  กล่อง  แอร์  ลูกบาส กรอบรูป  ประตู  กระถางต้นไม้  ลำโพง  ซึ่งทุกอย่างในชีวิตประจำวันล้วนเป็นคณิตศาสตร์  
        หลังจากนั้นได้เข้าสู่กาทำ  Mapping  อาจารย์ให้แยกออกมาเป็น  3 หัวข้อหลัก ดังนี้  การจัดประสบการณ์    คณิตศาสตร์   เด็กปฐมวัย  แต่ละหัวข้ออาจารย์ได้บอกแนวทางและช่วยกันคิด  





     👉 ความรู้ที่ได้จาก  Mapping

การทำงานของสมอง  

     มีนักทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง คือ เพียเจท์  แบนดรูรา   ซึ่งอาจารย์ได้ยกตัวอย่างของนักทฤษฎีเพียเจท์ กล่าวไว้ว่า  แรกเกิด - 2ปี  เด็กใช้ประสาทสัมผัมทั้ง 5 มากที่สุด เด็กมีพฤติกรรมแบบนี้ตือต้องการลงมือกระทำกับวัตถุต่างๆ  

เก็บข้อมูล  →  สมอง   →   รับรู้ / ซึมซับ

      ข้อมูลบางอย่างสอดคล้องและแตกต่างกัน  เช่น ตอนเด็กๆ แม่ซื้อตุ๊กตาแมว เด็กเห็นก็จะซึมซับ ช่วงที่ไปบ้านยายเห็นแมวแล้วโดนแมวข่วนเกิดการรับรู้เกิดเป็นความรู้ใหม่
      การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม  ↠   การเรียนรู้เพื่อการอยู่รอด
การแบ่งช่วงอายุ ออกเป็น  2 ช่วง    
 2-5  ↔ ท่องจำไม่หมด แต่รู้ว่าไปหาข้อมูลได้ที่ไหน ( หนังสือ พัฒนาการเด็ก , หนังสือหลักสูตร )            
5-7  ↔  ประโยคมีคำอธิบายใช้เหตุผลมากขึ้น ยาวขึ้น คำเสริม 
       การจัดประสบการณ์ให้สอดคล้องกับวิธีการทำให้เกิดการเรียนรู้  ลงมือปฎิบัติโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5  มีสื่อเป็นตัวกลาง  (  คู่มือมาตรฐานคณิตศาสตร์  )

      หลังจากสอนเนื้อหาความรู้เสร็จอาจารย์ให้ช่วยกันคิดว่า ถ้าเราแบ่งเพื่อนออกเป็น 2 กลุ่ม จะใช้วิธีการอย่างไร เช่น  นับเลข 1  2  ใช้เกณฑ์คือการตัวเลข  ,  นำสื่อเป็นไม้ให้เด็กมาจับ  , ใช้ผมสั้น  ผมยาว เกณฑ์คือประมาณบ่า 
ทักษะการใช้สมองของเด็ก


💙วิดีโอน่ารู้💙

ทฤษฎีทางสติปัญญาของเพียเจท์


ดูเพิ่มเติมได้ที่  👉 https://www.youtube.com/watch?v=vaU37HpwNS4


👉 บรรยากาศในห้องเรียน







💙คำศัพท์💜

1. Experience  arrangement       การจัดประสบการณ์
2. Brain  function                       การทำงานของสมอง
3. Development                          พัฒนาการ
4. Geometry                                รูปทรงเรขาคณิต
5. Early  childhood                     เด็กปฐมวัย
6. Learning                                 เรียนรู้
7. Nature                                     ลักษณะ
8. Comparison                            การเปรียบเทียบ
9. Mathematics                           คณิตศาสตร์
10.Learning  by doing                การเรียนรู้โดยลงมือกระทำ

 การประเมิน

ประเมินตนเอง 👉 วันนี้ได้ตั้งใจฟังอาจารย์ซึ่งช่วงที่อาจารย์ได้พูดถึงการแก้ไขบล็อกของตนเองทำให้เราสามรถแก้ได้ถูกต้องและอาจารย์ได้ถามซึ่งให้ตอบได้พยายามฟังคำถามของอาจารย์

ประเมินเพื่อนร่วมห้อง 👉 เพื่อนๆทุกคนได้ช่วยกันตอบสิ่งที่อาจารย์ถามอาจจะตอบตรงประเด็นบ้าง แต่ทุกคนก็สามัคคีกัน

ประเมินอาจารย์  👉  อาจารย์อธิบายได้ชัดเจนเข้าใจและได้ตั้งคำถามให้นักศึกษาได้รู้จักคิด แสดงความคิดเห็นเป็นสิ่งที่ดีมาก

















บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 💗 1

วันศุกร์   ที่ 11  มกราคม  พ.ศ. 2562

ความรู้ที่ได้รับ

      สำหรับในวันนี้อาจารย์ได้มอบหมายงานซึ่งให้นักศึกษาสร้าง BLOGGER  เป็นของตนเองในรายวิชานี้และอาจารย์ได้บอกถึงองค์ประกอบของ BLOGGER มีดังนี้
   1.ชื่อและคำอธิบายบล็อก
   2.รูปและข้อมูลผู้เรียน
   3.ปฎิทินและนาฬิกา
   4.เชื่อมโยง บล็อกอาจารย์ผู้สอน  , หน่วยงานสนับสนุน , แนวการสอน , งานวิจัยด้านคณิตศาสตร์  ห้ามเกิน  10 ปี  , บทความ,  ตัวอย่างการสอน , สื่อคณิตศาสตร์  ( เพลง ,  เกม , นิทาน , แบบฝึกหัด , ของเล่น  )
   5. ลิงก์บล็อกของเพื่อนไว้ทุกคน



                    💜 คำศัพท์💜
1.Name                      ชื่อ
2.Explanation               คำอธิบาย
3.Picture                   รูปภาพ
4.Information               ข้อมูล
5.Learner                   ผู้เรียน
6.Calendar                  ปฎิทิน   
7.Watch                     นาฬิกา
8.Teaching style           แนวการสอน
9.Exercise                  แบบฝึกหัด
10.Support agency          หน่วยงานสนับสนุน


     การประเมิน

ประเมินตนเอง  👾  วันนี้ได้รับมอบหมายงานจากอาจารย์ให้ทำ BLOGGER ซึ่งต้องทำให้ครบตาม    องค์ประกอบ ทำให้ตนเองทำ BLOGGER  ได้ดีขึ้น

ประเมินเพื่อนร่วมห้อง 👾 เพื่อนๆแต่ละคนได้ทำ  BLOGGER  ของตนเอง บางคนทำบางอย่างไม่ได้ก็ได้ช่วยกันทำให้เสร็จสมบูรณ์

ประเมินอาจารย์  👾   อาจารย์ได้มอบหมายงานโดยการบอกองค์ประกอบของ BLOGGER ได้ชัดเจน 




สื่อคณิตศาสตร์ 📏



📏 สื่อคณิตศาสตร์  📐



 👶 นิทาน  เจ้าแกละสอนเลข 

       นิทานเรื่องนี้ช่วยกระตุ้นกระบวนการเรียนรู้คณิตศาสตร์และกระบวนการคิดของเด็กทำให้รู้จักการฝึกคิดอย่างเป็นระบบ สามารถปูพื้นฐานให้เด็กเข้าใจ สามารถนับจำนวน บวกและลบเลขได้  มีความสนุกสนานเพลิดเพลินกับนิทานเรื่องนี้  สอดคล้องกับสาระที่ 1  จำนวนและการดำเนินการ 





👶เพลง นับเลข 1-10

          เพลงนี้สามารถทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้เกี่ยวกับนับตัวเลขซึ่งทำให้เด็กเกิดความจำมากขึ้นในการใส่ทำนองเพลงเข้าไป  มีความสนุกสนาน สามรถฟังเพลงอย่างเพลิดเพลิน การฟังเพลงซ้ำๆทำให้เด็กเกิดการคิดอย่างเป็นระบบ สอดคล้องกับสาระที่ 1  จำนวนและการดำเนินการ





👶เกมสำหรับเด็กปฐมวัย

           เป็นเกมที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับตัวเลข ฝึกการบวกเลขของเด็กมีการจับเวลา ซึ่งเด็กสามารถคิดและเกิดทักษะการเรียนรู้ได้ดี เมื่อเด็กได้ฝึกบ่อยๆจะเกิดความจำและสามารถพัฒนาไปเรื่อยๆได้ตามช่วงวัยของเด็ก สอดคล้องกับสาระที่ 1  จำนวนและการดำเนินการ





ตัวอย่างการสอน 👶



👩 ตัวอย่างการสอน  👩



คณิตศาสตร์ปฐมวัย ตัวเลขกับเด็กอนุบาล

สรุปตัวอย่างการสอน

ส่งเสริมให้เด็ก ๆ รู้สึกเป็นอิสระที่จะขบแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ด้วยต้วเองและพัฒนาทักษะเช่น การจดจำตัวเลข การจัดลำดับและการคำนวณไปด้วย ครูจะสาธิตวิธีประเมินเด็กๆ ผ่านการสังเกตการณ์ในแต่ละวันและวิธีนำข้อมูลที่ได้เข้าที่ประชุมครูเพื่อวางแผนการสอนต่อไป โรงเรียนเชื่อมั่นอย่างว่าหากเด็กๆ รู้สึกสนุกกับวิชาเลขตั้งแต่ชั้นเล็กๆ แล้ว ผลการเรียนรู้ในชั้นปีอื่นๆ ก็จะเปลี่ยนไปในทางดีด้วย
    การเรียนการสอนที่ต่างประเทศเปิดโอกาสให้เด็กได้พูดได้กล้าแสดงออก เป็นการช่วยเพิ่มทักษะทางด้านคณิตศาสตร์ให้กับเด็ก ไม่ควรที่จะปิดกั้นความคิด การสอนทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียนทำให้เด็กเข้าใจว่าคณิตศาสตร์ไม่ใช่เพียงแต่อยู่ในห้องเรียนแต่อยู่ในชีวิตประจำวัน เรานำมาเชื่อมโยงสอดคล้องกับสิ่งต่างๆได้

   ที่มา: DLIT PLC พัฒนาวิชาชีพครู

ดูเพิ่มเติมได้ที่  : https://www.youtube.com/watch?v=eftDXPGKtMs



📖 งานวิจัย 📑


📖  งานวิจัย 📑

 เรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

ชื่่อจัดทำ วิจิตตรา จันทร์ศิริ
อาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สพลณภัทร์ ศรีแสงยงค์
สาขาวิชา หลักสูตรและการสอน
ปีการศึกษา 2559

วัตถุประสงค์การวิจัย

 1. เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน เพื่อส่งเสริม ทักษะพื้ นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย 
2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้ นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อน และหลังการใช้ รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน 
3. เพื่อวัดเจตคติของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมอง เป็นฐาน

ขอบเขตของการวิจัย

   การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้กาหนดขอบเขตการวิจัย ดังนี้
 1. ประชากรและกล่มตัวอย่าง ุ
 ประชากรได้แก่ เด็กปฐมวัย อายุ 5-6 ปี ที่กาลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาลปี ที่2 ภาคเรียนที่2 ปี การศึกษา 2557 โรงเรียนวัดระเบาะไผ สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 1 จํานวน 480 คน 
     กลุ่มตัวอยjาง ได้แก่ เด็กปฐมวัยที่มีอายุ 5-6 ปี ที่กาลังศึกษาภาคเรียนที่่2 ปี การศึกษา 2557 โรงเรียนวัดระเบาะไผ จํานวน 35คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) ซึ่งมี เหตุผลในการเลือกกลุ่มตัวอยาง ดังนี้
 1. เป็นโรงเรียนศูนย์เด็กปฐมวัยต้นแบบ 
 2. ผู้บริหารสถานศึกษาให้การสนับสนุนในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เป็นอย่างดี
 3. ผู้วิจัยสามารถจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กบเด็กปฐมวัยได้ด้วยตนเอง 
2. ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษามี ดังนี้ 
2.1 ตัวแปรต้น ได้แก่รูปแบบการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์โดยใช้สมองเป็นฐาน 
2.2 ตัวแปรตาม ได้แก่ 
2.2.1 ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย 8 ทักษะ ประกอบด้วย ทักษะ การสังเกต ทักษะการจําแนก ทักษะการเปรียบเทียบ ทักษะการจัดหมวดหมู่ทักษะการนับ ทักษะ การจัดลําดับ ทักษะการวัด ทักษะการบอกตําแหน่ง
 2.2.2 เจตคติเด็กปฐมวัยที่มีต่อการปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน 
3.ขอบเขตด้านเนื้อหา เนื้อหาที่ใช้ในการทดลองเป็นเนื้อหาในหน่วยการเรียนรู้ ภาคเรียนที่ 2 ปี การศึกษา 2557 ประกอบด้วยหน่วยการเรียนรู้ 8 หน่วย ดังนี้ วันขึ้นปี ใหม่ วันเด็ก ดอกไม้ ผลไม้ ผัก สัตว์เลี้ยงแสนรัก กลางวันกลางคืน เงิน
4. ขอบเขตด้านระยะเวลา ภาคเรียนที่2 ปี การศึกษา 2557 ระยะเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ5 วัน วันละ 20 นาทีตั้ งแต่วันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2557ถึง 20 มีนาคม พ.ศ. 2557 ใช้เวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ5วัน ๆ ละ 20 นาที 

หลักการและแนวคิดเกี่ยวกับรูปแบบการสอน

     สภาพลักษณะของ ่การเรียนการสอนที่ครอบคลุมองค์ประกอบสําคัญซึ่งได้รับการจัดไว้อยางเป็น ระเบียบตามหลักปรัชญาทฤษฎี หลักการ แนวคิดหรือความเชื่อต่าง ๆ โดยประกอบด้วยกระบวนการหรือขั้นตอน สําคัญในการเรียนการสอน รวมทั้งวิธีสอนและเทคนิคการสอนต่าง ๆ ที่สามารถช่วยให้สภาพ การเรียนการสอนนั้นเป็นไปตามทฤษฎี หลักการหรือแนวคิดที่ยึดถือรูปแบบจะต้องได้รับการพิสูจน์ ทดสอบหรือยอมรับวามีประสิทธิภาพสามารถใช้เป็นแบบแผนในการเรียนการสอน ให้บรรลุวัตถุประสงค์เฉพาะของรูปแบบนั้น ๆ 

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 
1. รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้
 2. คู่มือการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้
3. แผนการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดของรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ 
 4. แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย 
 5. แบบวัดเจตคติของเด็กปฐมวัยที่มีต่อรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้

ผลการวิจัย

   ผลการวิจัยการพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยผู้วิจัยนําเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล เป็น 3 ตอน ดังนี้
ตอนที่ 1 ผลการตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ สมองเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะพื้ นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย 

ตอนที่ 2 ผลการเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลัง การใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน 

ตอนที่ 3 เจตคติของเด็กปฐมวัยที่มีต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน

สรุป💚
  การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยเป็นการใช้ความรู้ความเข้าใจที่ เกี่ยวข้องกบสมองเป็นเครื่องมือในการออกแบบกระบวนการเรียนรู้และกระบวนการอื่นๆ ที่ เกี่ยวข้องเพื่อสร้างศักยภาพสูงสุดในการเรียนรู้ของมนุษย์โดยเชื่อวาโอกาสทองของการเรียนรู้ ่ อยูระหว่างแรกเกิด-10 ปีสมองของเด็กอนุบาลมีเซลล์อยู่ข้างในจํานวนประมาณ  1 แสนล้านเซลล์ ที่รอการเรียนรู้ หรือรอประสบการณ์ยิงโรงเรียนจัดประสบการณ์หลากหลายเซลล์สมองก็จะถูกใช้งานซึ่งทําให้มีโอกาสฉลาดกว่าการไม่ใช้และสูญเสียเซลล์สมองไป


       รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยการใช้สมองเป็นฐาน   สะท้อนให้เห็นถึงวิธีการ  แนวคิดพื้นฐานของการพํฒนารูปแบบ




ดูเพิ่มเติมได้ที่




👶 บทความ 👱





👶 บทความ  คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 👱

เรื่อง เตรียมความพร้อมคณิตศาสตร์ตั้งแต่ก้าวแรก...ของลูกน้อย


ผู้เขียน   แพทย์หญิงอัมพร    เบญจพลพิทักษ์
        แพทย์หญิงนพวรรณ   ศรีวงค์พานิช
        นางนิรมัย   คุ้มรักษา
        นางณัฐชนก    สุวรรณานนท์

สรุปบทความ

    คณิตศาสตร์เป็นวิชาที่มีความสำคัญในชีวิตประจำวัน พ่อแม่ คือส่วนสำคัญต่อการพัฒนาทักษะพื้นฐานด้านคณิตศาสตร์ของลูกน้อย ตั้งแต่วัยเตาะแตะจนถึงวัย 5ปี เช่น การนับชั้นบันไดที่เด็กขึ้นลง การแบ่งของเล่นหรือขนมให้พี่น้องหรือเพื่อน การพัฒนาทักษะเหล่านี้โดยผ่านกิจกรรมล้วนมีความสำคัญต่อความพร้อมของเด็กในการเข้าสู่โรงเรียน ทำให้เด็กสามารถแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ในโรงเรียนอย่างก้าวกระโดด
         ทักษะทางคณิตศาสตร์ที่จำเป็นสำหรับลูกน้อยก่อนเข้าสู่โรงเรียน อย่างเช่น การสังเกต สิ่งของเหมือนหรือต่างกัน การเปรียบเทียบสิ่งของ การจัดลำดับสิ่งของ การวัด การนับ รูปทรงและขนาด การจัดหมู่ การรวมหมู่ การแยกหมู่ ทักษะทางคณิตศาสตร์จึงเป็นทักษะสำคัญอันหนึ่งนอกจากทักษะด้านภาษา ร่างกาย และทักษะด้านสังคม ทักษะต่างๆเหล่านี้มีการพัฒนาร่วมกันและมีอิทธิพลต่อกันและกัน เราสามารถเตรียมความพร้อมทักษะพื้นฐานด้านคณิตศาสตร์ให้ลูกตั้งแต่ช่วงปฐมวัยเพราะวัยแรกเกิดถึงหกขวบนั้นเป็นช่วงเวลาที่สมองจะพัฒนาสูงสุดในทุกด้าน หากได้รับการกระตุ้น อย่างต่อเนื่อง
   เทคนิค แนะนำพ่อแม่พาทำกิจกรรมเสริมความสุข...พัฒนาคณิตศาสตร์
👉 สร้างรูปทรง 👌 เล่นเกทคัดแยกรูปทรง พูดคุยเรื่องรูปทรง
👉 นับและคัดแยก 👌 รวบรวมตะกร้าของเล่นชิ้นเล็กๆที่หาได้ที่บ้าน คัดแยกตามขนาด สี หรือกลุ่ม
👉 โทรศัพท์ 👌 คุยกับลูกแต่ละบ้านมีโทรศัพท์
👉 ขนาดสิ่งของ 👌 ให้ลูกสังเกตขนาดของวัตถุรอบตัว


ดูเพิ่มเติมได้ที่ : http://www.rajanukul.go.th/new/index.php?mode=academic&group=323&id=3504&date_start=&date_end=&fbclid=IwAR1U3aldJHKWwgqml4Cc-vk3PlxL6pmBtYPY1GGhx2MVGwIHp1dBxl_Lx4g