วันจันทร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 💗 3

วันศุกร์  ที่ 25   มกราคม  พ.ศ. 2562


ความรู้ที่ได้รับ

         😃  กิจกรรมที่ 1 

         อาจารย์ได้ให้กระดาษขาวเทาแบบแข็งแผ่นใหญ่เพื่อที่จะนำไปตัดแบ่งครึ่งกับเพื่อนซึ่ง  1 แผ่นใหญ่ได้ทั้งหมด 4 คน และอาจารย์ได้อธิบายรายละเอียดของสื่อที่เราจะทำกันตามขั้นตอนอย่างเข้าใจง่ายมากขึ้น

        อุปกรณ์การทำสื่อ

1.กระดาษขาวเทาแบบแข็ง  ( แผ่นใหญ่ )
2.กรรไกร
3.มีดคัตเตอร์
4.สีเมจิก
5.ดินสอ
6.แผ่นรองตัด
7.ไม้บรรทัด

      ขั้นตอนการทำสื่อ

👉ขั้นตอนที่ 1  นำกระดาษขาวเทาแบบแข็งแผ่นใหญ่มาตัดแบ่งครึ่งซึ่งจะได้ทั้งหมด 4 คน หรือ 4 แผ่นเท่าๆกัน 


👉ขั้นตอนที่ 2   นำมาวัดขีดแบ่งช่องเป็น  แนวนอน 10 ช่อง  แนวตั้ง 4 แถว วัดช่องละ 2 นิ้ว  แล้วตัดออก ซึ่งได้ทั้งหมด  2 ชุด  ชุดละ 2 แถว



👉ขั้นตอนที่ 3  นำกระดาษขาวเทาที่เหลือในส่วนที่ตัดออกเพื่อที่จะมาทำส่วนต่อไป ซึ่งนำกระดาษที่ขีดเป็นช่องเสร็จแล้วนำมาวางแนบเป็น 3 ช่อง 2 แถว แล้วขีดเส้นนำไปตัดออกจำนวน 2 แผ่น และวัด 2 นิ้ว 2 ช่อง ขีดลงมาตามความยาว สามารถใช้สีเมจิกขีดเพื่อให้เห็นเส้นความชัดเจนของช่อง




👉ขั้นตอนที่ 4  นำกระดาษกาวย่นติดข้างหลังกระดาษแผ่นที่ตัดคือ แผ่นยาวกับแผ่นเล็กให้เชื่อมติดกัน ทำแบบนี้ทั้ง 2 ชุด แล้วนำเทปใสมาติดข้างหน้าระหว่างรอยเชื่อมเหมือนเดิมสามารถพับได้

👉ขั้นตอนที่ 5  เขียน สิบ  หน่วย ในช่องของแผ่นเล็ก

👉ขั้นตอนที่ 6  นำกระดาษขาวเทาที่เหลือมาขีดวัดช่องเพื่อจะเขียนตัวเลข  0-9  โดยวัดช่องละ 2 นิ้ว จำนวน 10 ช่อง แล้วแต่ละช่องแบ่งครึ่งเป็น 1 นิ้ว ได้ทั้งหมด 20 ช่อง เขียนตัวเลข นำไปตัดออกจะได้ทั้งหมด ชุดละ 10 ชิ้น จำวนตัวเลข 0-9 เป็น 2 ชุด

👉ขั้นตอนที่ 7  นำกระดาษที่เขียนตัวเลข 0-9 ที่ตัดเป็นชิ้นเสร็จเรียบร้อยแล้ว มาวางไว้ที่ช่อง สิบ  หน่วย




         สิ่งที่ได้รับจากกิจกรรมนี้ ได้ทำสื่อเกี่ยวกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กที่เราสามารถทำได้ง่ายโดยใช้อุปกรณ์ที่ไม่ต้องเยอะมากก็สามารถทำได้ และเราสามารถนำไปใช้ได้ในอนาคตเมื่อเราสอนเด็ก 




         😃  กิจกรรมที่ 2 

      อาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม  2 กลุ่มเพื่อที่จะทำกิจกรรมวิธีสอนคณิตศาสตร์ด้วยดินน้ำมัน ซึ่งได้กลุ่มละ 13 คน และ 14 คน หนูได้อยู่กลุ่มที่มี 14 คน 






      อาจารย์ให้ปั้นดินน้ำมันเป็นผลไม้มาคนละ  1 ชนิด อะไรก็ได้ซึ่งแต่ละคนจะได้ดินน้ำมันคนละสี หนูได้ดินน้ำมันสีส้ม ปั้นเป็นส้มมา 1 ผล ต้องปั้นขนาดเล็กตกแต่งให้สวยงาม  การปั้นเป็นผลไม้เพื่อจะนำไปสู่การสอนคณิตศาสตร์

     


         เมื่อทุกคนปั้นเสร็จอาจารย์ให้บอกชื่อผลไม้ที่ตนเองปั้นและบอกคำศัพท์ภาษาอังกฤษของผลไม้นั้น  อย่างเช่น  
Mangosteen             มังคุด                 
Custard   apple        น้อยหน่า               
Rose  apple              ชมพู่                   
Tamarind                 มะขาม            
Durian                     ทุเรียน               
Apple                      แอปเปิ้ล   
Orange                    ส้ม                   
Watermelon            แตงโม                     
Banana                   กล้วย                
Grape                     องุ่น                
Strawberry             สตอเบอร์รี่      
 Mango                  มะม่วง
Cherry                   เชอร์รี่               
Pomelo                  ส้มโอ

      หลังจากนั้นอาจารย์ให้แต่ละกลุ่มไปหยิบสื่อที่เราทำเสร็จแล้วในกิจกรรมที่ 1 นำมากลุ่มละ 1 ชุด ได้นำมาวางไว้ตรงกลางเพื่อที่จะสามรถมองเห็นได้ทุกคนแล้วนำผลไม้ที่แต่ละคนได้ปั้นมาเรียงในช่องของสื่อได้ทั้งหมด  14 ผล ซึ่งอาจารย์ได้ถามว่าเมื่อเราสอนคณิตศาสตร์เด็กจะได้อะไรบ้าง จะได้เรื่องรูปทรง  การนับจำนวน  การบอกจำนวน  แล้วเราสามรถนำตัวเลขมาวางไว้บนผลไม้เพื่อได้บอกจำนวนของผลไม้ 




         อาจารย์ให้นำสื่อชุดที่  2  มาวางแล้วแบ่งผลไม้ออกเป็น 2  กลุ่ม ซึ่งเราจะแบ่งได้นั้นต้องใช้เกณฑ์ในการแบ่ง  กลุ่มหนูใช้เกณฑ์ผลไม้ที่เป็นรูปทรงกลม ได้กลุ่มละ  7 ผล  สามารถสอนในเรื่องของการบวกลบได้ เรายังไม่เหมาะสมกับการสอนเด็กปฐมวัยเพราะเป็นนามธรรม เราสามารถทำได้โดยการนำผลไม้หยิบออกครั้งละ  1  ผล  เมื่อเราแบ่งเป็น 2 กลุ่ม อยากทราบว่าอันไหนมากกว่ากัน ใช้วิธีการหยิบออก 1 ต่อ 1 วิธีการวางคือเรียงจากซ้ายไปขวา


การแบ่งใช่้เกณฑ์ผลไม้ที่เป็นรูปทรงกลม



                    เมื่อแบ่งกลุ่มเป็น 2 กลุ่มอีกครั้ง ใช้เกณฑ์ผลไม้ที่มีหนาม  ได้กลุ่มละ  1 ต่อ 13 ผล


การแบ่งใช้เกณฑ์ผลไม้ที่มีหนาม


           หลังจากนั้นเมื่อเสร็จกิจกรรมได้เก็บอุปกรณ์ให้เรียบร้อยแล้วมานั่งรวมกันเป็นครึ่งวงกลมเหมือนเดิมเพื่อที่จะพูดคุยว่าวันนี้เราได้อะไรบ้าง 
           การใช้เกณฑ์ของหลักคณิตศาสตร์คือการนำมาเป็นตัวในการพิจารณาสำหรับเด็กไม่ควรใช้หลายเกณฑ์ อย่างเช่น ผลไม้ที่มีสีเขียว เด็กใช้ทักษะการสังเกตเชื่อมโยงกับเกณฑ์เกิดการเปรียบเทียบ เมื่อนำออกทำให้ลดลงหรือน้อยลง  การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ลงมือกระทำส่งข้อมูลไปยังสมองแล้วซึมซับ เหมือนน้ำที่แตกกระจายพอเจอสิ่งใหม่บางอย่างเหมือนความรู้เดิมทำให้เกิดเป็นสิ่งใหม่
                      กระบวนการของสมอง    👉     การรับรู้

          เมื่อเรานำสิ่งที่รับรู้มาใช้ปรับพฤติกรรมของเราหรือเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเมื่อนั้นเกิดการเรียนรู้เพื่อการอยู่รอด

         สื่อการสอนคณิตศาสตร์เป็นเครื่องมือที่มีความจำเป็นสำหรับเด็กปฐมวัยอย่างมาก เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ให้เด็กปฐมวัยสามารถเรียนรู้ได้จากสื่อที่เป็นรูปธรรมได้ดีกว่าสื่อที่เป็นนามธรรม นอกจากนี้เด็กปฐมวัยมีช่วงความสนใจสั้น จึงมีความคิดว่าควรเปิดโอกาสให้เด็กได้ลงมือกระทำ ปฏิบัติการและค้นพบความรู้ด้วยตนเอง ดังนั้นสื่อการสอนจึงมีความจำเป็นและมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ในระดับปฐมวัย เพราะสื่อจะช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ให้เด็กปฐมวัยหลายประเภท ได้แก่ วัสดุอุปกรณ์ เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้และสามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอนได้

บรรยากาศในห้องเรียน




        
       👾คำศัพท์👾

1.Orange                 ส้ม
2.Tamarind              มะขาม
3.Pomelo                 ส้มโอ
4.Mangosteen          มังคุด
5.Grape                    องุ่น
6.Molding clay        ปั้นดินน้ำมัน
7.Number                ตัวเลข
8.Round  shape        รูปทรงกลม
9.Count                    จำนวนนับ
10.Assimilation        การดูดซึม




การประเมิน

ประเมินตนเอง  💗 วันนี้ได้ทำสื่อเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ทำให้รู้วาไม่ยากอย่างที่คิดได้ฝึกทำและทำกิจกรรมปั้นดินน้ำมันได้ฝึกคิด เรียนรู้วิธีการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

ประเมินเพื่อนร่วมห้อง  💗  เพื่อนๆแต่ละคนได้ตั้งใจทำสื่อส่วนบางคนทำเสร็จก่อนเพื่อนๆคนอื่นๆได้ช่วยกันสอน 

ประเมินอาจารย์  💗   อาจารย์ได้อธิบายการทำสื่ออย่างละเอียดทำให้เข้าใจและได้สอน  ปฎิบัติจริงในเรื่องวิธีการสอนคณิตศาสตร์ให้เด็กปฐมวัยทำให้เรียนรู้ได้ดี










ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น