วันอาทิตย์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 💗 2

วันศุกร์ ที่ 18  มกราคม  พ.ศ. 2562


ความรู้ที่ได้รับ
     
     


       ในการเรียนการสอนสำหรับวันนี้อาจารย์ได้อธิบายรายละเอียดของรายวิชาการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยซึ่งทำให้เรารู้ว่าวิชานี้เรียนอะไรบ้าง และงานที่อาจารย์ได้มอบหมายในรายวิชานี้มีอะไรบ้างทำให้เราได้รู้ล่วงหน้าในการเตรียมตัว  สิ่งสำคัญคือทุกคนต้องมี BLOGGER ของตนเอง ซึ่งแต่ละคาบจะต้องบันทึกลงทุกครั้ง และมีการจดคำศัพท์  10 คำ  มีการประเมินในห้องเรียน
      หลังจากนั้นอาจารย์ได้พูดรายละเอียดของบล็อกซึ่งอาจารย์เปิดดูของแต่ละคนและได้บอกว่าควรไปปรับหรือแก้ไขตรงไหนบ้างทำให้ทุกคนได้รู้ของตนเองเพื่อเป็นแนวทางการแก้อย่างถูกต้อง อย่างเช่น 
สิ่งที่ต้องมี คือ  ชื่อและคำอธิบายบล็อก  , รูปและข้อมูผู้เรียน,   ปฎิทินและนาฬิกา   , เชื่อมโยง บล็อกอาจารย์ผู้สอน  , หน่วยงานสนับสนุน , แนวการสอน , งานวิจัยด้านคณิตศาสตร์  ห้ามเกิน  10 ปี , บทความ,  ตัวอย่างการสอน , สื่อคณิตศาสตร์  ( เพลง ,  เกม , นิทาน , แบบฝึกหัด , ของเล่น  )  ลิงก์บล็อกของเพื่อนไว้ทุกคน

👉  กิจกรรม  Mapping



         อาจารย์ได้ให้กระดาษคนละ 1 แผ่น เพื่อที่จะทำ Mapping หัวข้อเรื่อง  การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ก่อนที่จะลงมือทำอาจารย์ได้ให้ทุกคนคิดก่อนว่าสิ่งของในห้องเรียนมีอะไรบ้างที่เป็นคณิตศาสตร์ บอกคนละ 1 อย่าง เช่น ตู้   เพื่อน  กระดาน  หน้าต่าง  กล่อง  แอร์  ลูกบาส กรอบรูป  ประตู  กระถางต้นไม้  ลำโพง  ซึ่งทุกอย่างในชีวิตประจำวันล้วนเป็นคณิตศาสตร์  
        หลังจากนั้นได้เข้าสู่กาทำ  Mapping  อาจารย์ให้แยกออกมาเป็น  3 หัวข้อหลัก ดังนี้  การจัดประสบการณ์    คณิตศาสตร์   เด็กปฐมวัย  แต่ละหัวข้ออาจารย์ได้บอกแนวทางและช่วยกันคิด  





     👉 ความรู้ที่ได้จาก  Mapping

การทำงานของสมอง  

     มีนักทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง คือ เพียเจท์  แบนดรูรา   ซึ่งอาจารย์ได้ยกตัวอย่างของนักทฤษฎีเพียเจท์ กล่าวไว้ว่า  แรกเกิด - 2ปี  เด็กใช้ประสาทสัมผัมทั้ง 5 มากที่สุด เด็กมีพฤติกรรมแบบนี้ตือต้องการลงมือกระทำกับวัตถุต่างๆ  

เก็บข้อมูล  →  สมอง   →   รับรู้ / ซึมซับ

      ข้อมูลบางอย่างสอดคล้องและแตกต่างกัน  เช่น ตอนเด็กๆ แม่ซื้อตุ๊กตาแมว เด็กเห็นก็จะซึมซับ ช่วงที่ไปบ้านยายเห็นแมวแล้วโดนแมวข่วนเกิดการรับรู้เกิดเป็นความรู้ใหม่
      การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม  ↠   การเรียนรู้เพื่อการอยู่รอด
การแบ่งช่วงอายุ ออกเป็น  2 ช่วง    
 2-5  ↔ ท่องจำไม่หมด แต่รู้ว่าไปหาข้อมูลได้ที่ไหน ( หนังสือ พัฒนาการเด็ก , หนังสือหลักสูตร )            
5-7  ↔  ประโยคมีคำอธิบายใช้เหตุผลมากขึ้น ยาวขึ้น คำเสริม 
       การจัดประสบการณ์ให้สอดคล้องกับวิธีการทำให้เกิดการเรียนรู้  ลงมือปฎิบัติโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5  มีสื่อเป็นตัวกลาง  (  คู่มือมาตรฐานคณิตศาสตร์  )

      หลังจากสอนเนื้อหาความรู้เสร็จอาจารย์ให้ช่วยกันคิดว่า ถ้าเราแบ่งเพื่อนออกเป็น 2 กลุ่ม จะใช้วิธีการอย่างไร เช่น  นับเลข 1  2  ใช้เกณฑ์คือการตัวเลข  ,  นำสื่อเป็นไม้ให้เด็กมาจับ  , ใช้ผมสั้น  ผมยาว เกณฑ์คือประมาณบ่า 
ทักษะการใช้สมองของเด็ก


💙วิดีโอน่ารู้💙

ทฤษฎีทางสติปัญญาของเพียเจท์


ดูเพิ่มเติมได้ที่  👉 https://www.youtube.com/watch?v=vaU37HpwNS4


👉 บรรยากาศในห้องเรียน







💙คำศัพท์💜

1. Experience  arrangement       การจัดประสบการณ์
2. Brain  function                       การทำงานของสมอง
3. Development                          พัฒนาการ
4. Geometry                                รูปทรงเรขาคณิต
5. Early  childhood                     เด็กปฐมวัย
6. Learning                                 เรียนรู้
7. Nature                                     ลักษณะ
8. Comparison                            การเปรียบเทียบ
9. Mathematics                           คณิตศาสตร์
10.Learning  by doing                การเรียนรู้โดยลงมือกระทำ

 การประเมิน

ประเมินตนเอง 👉 วันนี้ได้ตั้งใจฟังอาจารย์ซึ่งช่วงที่อาจารย์ได้พูดถึงการแก้ไขบล็อกของตนเองทำให้เราสามรถแก้ได้ถูกต้องและอาจารย์ได้ถามซึ่งให้ตอบได้พยายามฟังคำถามของอาจารย์

ประเมินเพื่อนร่วมห้อง 👉 เพื่อนๆทุกคนได้ช่วยกันตอบสิ่งที่อาจารย์ถามอาจจะตอบตรงประเด็นบ้าง แต่ทุกคนก็สามัคคีกัน

ประเมินอาจารย์  👉  อาจารย์อธิบายได้ชัดเจนเข้าใจและได้ตั้งคำถามให้นักศึกษาได้รู้จักคิด แสดงความคิดเห็นเป็นสิ่งที่ดีมาก

















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น