วันจันทร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 💗 5


วันศุกร์ ที่15 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2562



ความรู้ที่ได้รับ

  ในวันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาทุกคนเข้าชมนิทรรศการของพี่ๆชั้นปีที่ 5 สำหรับการฝึกสอน ซึ่งในช่วงที่พี่ๆได้ฝึกสอนตามโรงเรียนต่างๆ ได้ทำสื่อให้เด็กได้เรียนรู้ในแต่ละเรื่อง การจัดประสบการณ์ต่างๆ ทำโครงการในเรื่องที่เด็กสนใจ พี่ๆได้นำมาถ่ายทอดให้พวกเรารุ่นน้องได้ชมกันว่ามีอะไรบ้างและเป็นอย่างไร



★การเข้าชมนิทรรศการในสิ่งที่ได้รับและได้ความรู้ในการนำมาปรับใช้★

การวิจัยในชั้นเรียน

    เรื่อง ผลการจัดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านผระกอบการใช้เชือกพัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่ของเด็กอนุบาล 1/2 โรงเรียนวัดนวลจันทร์ สังกัดกรุงเทพมหานคร

   การวิจัยครั้งนี้นำไปใช้และได้ผลกับเด็ก คือ ความสามารถในการพัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่ที่มีประสิทธิภาพซึ่งก่อนเรียนจะมีค่าต่ำกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้และหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้
   จากกิจกรรมนี้สิ่งที่เด็กได้รับพฤติกรรมในการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดีขึ้น พัฒนาทักษะด้านสังคมและมีปฎิสัมพันธ์ร่วมกับผู้อื่น หลังจากที่ชมงานวิจัยก็สามารถนำกลับไปปรัยใช้ได้ในอนาคตเพื่อเป็นแนวทางในการทำวิจัยได้ดีมากๆ เราสามารถนำมาเป็นตัวอย่างได้










การสอนแบบไฮสโคป

         
    ไฮสโคป. เป็นการสอนที่เน้นการเรียนรู้แบบลงมือทำผ่านมุมเล่นที่หลากหลาย ด้วยสื่อและกิจกรรมที่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก และการแก้ปัญหาอย่างกระตือรือร้น โดยการให้โอกาสเด็กเป็นผู้ริเริ่มการเล่นหรือกิจกรรมต่าง ๆ อย่างอิสระ. จะเน้นการเรียนรู้แบบลงมือกระทำ (Active Learning) เพราะเด็กจะได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรงทำให้เกิดความคิด  ความรู้  ความเข้าใจ และรู้จักลงมือแก้ปัญหาด้วยตนเอง

        แนวการสอนแบบไฮสโคป ใช้หลักปฏิบัติ 3 ประการ คือ

1.การวางแผน (Plan) เป็นการกำหนดแนวทางการปฏิบัติ หรือการดำเนินงานตามงานที่ได้รับมอบหมายหรือสิ่งที่สนใจด้วยการสนทนาร่วมกันระหว่างครูกับเด็ก และเด็กกับเด็ก ว่าจะทำอะไร อย่างไร การวางแผนกิจกรรมนี้เด็กอาจแสดงด้วยภาพหรือสัญลักษณ์ประจำตัวเด็กหรือบอกให้ครูบันทึก เป็นกระบวนการที่เด็กมีโอกาสเลือกและตัดสินใจ
2.การปฏิบัติ (Do) คือ การลงมือทำกิจกรรมตามแผนที่วางไว้ เป็นส่วนที่เด็กได้ร่วมกันคิด แก้ปัญหา ตัดสินใจ และทำงานด้วยตนเอง หรือร่วมกับเพื่อนอย่างอิสระตามเวลาที่กำหนดโดยมีครูเป็นผู้ให้คำแนะนำ ช่วยเหลือในจังหวะที่เหมาะสม เป็นส่วนที่เด็กได้มีการพัฒนาการพูดและปฏิสัมพันธ์ทางสังคมสูง
3.การทบทวน (Review) เด็ก ๆ จะเล่าถึงผลงานที่ตนเองได้ลงมือทำเพื่อทบทวนว่าตนเองนั้นได้ปฏิบัติงานตามแผนที่ได้วางไว้หรือไม่ มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร การทบทวนจุดประสงค์ที่แท้จริงคือ ต้องการให้เด็กได้เชื่อมโยงแผนการปฏิบัติงานกับผลงานที่ทำ รวมถึงการเล่าประสบการณ์ต่าง ๆ ที่ได้ลงมือทำด้วยตนเอง

      จุดเด่นของแนวการสอนไฮสโคป

1.พื้นที่ ต้องมีพื้นที่สำหรับทำกิจกรรมเป็นกลุ่ม เพื่อให้เอื้อต่อการเรียนการสอนที่เน้นการเรียนแบบร่วมมือกระทำ มุมสำคัญที่ควรมี คือ มุมศิลปะ มุมหนังสือ มุมบ้าน มุมวิทยาศาสตร์ มุมบล็อก
2.วัสดุอุปกรณ์ สื่อการเรียนและอุปกรณ์ต้องมีมากพอและหลากหลาย เพื่อช่วยให้เด็กได้เรียนรู้พัฒนาแผนการทำงาน และดำเนินการตามแผน
3.การจัดเก็บ เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้เกี่ยวกับวงจรการค้นหา-ใช้-เก็บคืน ดังนั้น การจัดวางสิ่งของในห้องเรียนก็ต้องเอื้อให้เด็กได้เรียนรู้ด้วนตนเอง ครูต้องจัดวางอุปกรณ์ให้เด็กสามารถค้นหาได้ง่าย สะดวก ปลอดภัย เด็กสามารถหยิบมาใช้และเก็บคืนได้เอง กระบวนการทั้งหมดนี้จะช่วยส่งเสริมให้เด็กรู้จัดสังเกต เปรียบเทียบ มีความรับผิดชอบและช่วยเหลือ
ประโยชน์ของแนวการสอนไฮสโคป
   สอนให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์เชิงบวกกับผู้อื่น ซึ่งเริ่มต้นจากความไว้วางใจโยครูต้องเป็นผู้สร้างความไว้วางใจให้แก่เด็กเพื่อให้เด็กได้ลงมือทำกิจกรรมหรือชิ้นงานตามความสนใจของตนเองและมีความสนุกในการเรียนรู้ที่จะทำงาน
   จากการดูการสอนของไฮสโคปเป็นสิ่งที่ดีต่อเด็กปฐมวัยเป็นอย่างมาก เป็นการจัดการสอนที่ดีเด็กได้ลงมือกระทำซึ่งหนูได้หาข้อมูลเพิ่มเติมจากที่ไปชมนิทรรศการ ทำให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น






โครงการพัฒนาเด็กปฐมวัยตามหลักค่านิยม  12 ประการ.  
Best Practices รายงานผลการปฎิบัติงานที่เป็นเลิศ ระดับเด็กปฐมวัย

       จากการได้เข้าไปชมสิ่งที่ได้คือได้รู้ค่านิยมของคนไทย 12ประการ ได้เป็นส่วนหนึ่งในการจัดประสบการณ์ให้กับเด็กปฐมวัย อย่างเช่น จิ๊กซอว์หรรษา  บันไดคุณธรรม ลูกเต๋ามหัศจรรย์ ศิลปะสร้างสรรค์เด็กมีคุณธรรม  ทายปริศนา หนังสือเล่มใหญ่เรียงร้อยค่านิยมหลัก  ดนตรีบรรเลงบทเพลงค่านิยม วงล้อมหาสนุก รถไฟพาเพลิน 

ค่านิยม ๑๒ ประการ
1.ความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ 
2.ซื่อสัตย์ เสียสละ อดทน มีอุดมการณ์ในสิ่งที่ดีงามเพื่อส่วนรวม 
3.กตัญญูต่อพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูบาอาจารย์ 
4.ใฝ่หาความรู้ หมั่นศึกษาเล่าเรียนทั้งทางตรง และทางอ้อม 
5.รักษาวัฒนธรรมประเพณีไทยอันงดงาม 
6.มีศีลธรรม รักษาความสัตย์ หวังดีต่อผู้อื่น เผื่อแผ่และแบ่งปัน 
7.เข้าใจเรียนรู้การเป็นประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่ถูกต้อง 
8.มีระเบียบวินัย เคารพกฎหมาย ผู้น้อยรู้จักการเคารพผู้ใหญ่ 
9.มีสติรู้ตัว รู้คิด รู้ทำ รู้ปฏิบัติตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 
10.รู้จักดำรงตนอยู่โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รู้จักอดออมไว้ใช้เมื่อยามจำเป็น มีไว้พอกินพอใช้ ถ้าเหลือก็แจกจ่ายจำหน่าย และพร้อมที่จะขยายกิจการเมื่อมีความพร้อม เมื่อมีภูมิคุ้มกันที่ดี 
11.มีความเข้มแข็งทั้งร่างกาย และจิตใจ ไม่ยอมแพ้ต่ออำนาจฝ่ายต่ำ หรือกิเลส มีความละอายเกรงกลัวต่อบาปตามหลักของศาสนา 
12.คำนึงถึงผลประโยชน์ของส่วนรวม และของชาติมากกว่าผลประโยชน์ของตนเอง















 การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบโครงการ
 Project Approach

         การจัดการเรียนการสอนรูปแบบหนึ่งซึ่งให้ความสำคัญกับเด็ก ส่งเสริมให้เด็กแสวงหาคำตอบจากการเรียนเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างลุ่มลึกเพื่อสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง โดยที่เด็กหรือครูร่วมกันกำหนดเรื่องที่ต้องการเรียนรู้ แล้วดำเนินการแสวงหาความรู้ด้วยกระบวนการแก้ปัญหา โดยครูเป็นผู้อำนวยความสะดวกให้เด็กเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงและจากแหล่งเรียนรู้
   สิ่งที่ได้รับจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบโครงการ  Project Approach ซึ่งเรื่องที่พี่ๆนำมาเสนอแล้วเล่าให้ฟัง อย่างเช่น เรื่องที่หนูอยากเรียนซื่งให้เด็กแสดงความคิดเห็นก่อนและก็ได้เรื่องฟาร์มมากที่สุดจะเกี่ยวกับกิจกรรมที่เด็กๆอยากทำเกี่ยวกับฟาร์ม สำรวจฟาร์มที่เด็กๆชอบ    องค์ประกอบของฟาร์ม ประสบการณ์เดิมเกี่ยวกับฟาร์มและอีกโครงการหนึ่งคือ ใบไม้เริงร่า สิ่งเหล่านี้ทำให้เรารู้ขั้นตอนในการดำเนินโครงการเพื่อจะเก็บไว้เป็นความรู้ของตนเองในระยะยาว
















โครงการฟาร์มของพ่อหลวง

        เป็นการจัดประสบการณ์จำลองทำให้เสมือนจริงอย่างเช่น มีม้า กองฟาง ต้นข้าว ดวงอาทิตย์ สิ่งต่างๆเหล่านี้ทำมาจากสิ่งของที่เหลือใช้นำมาดัดแปลงเป็นสื่อการเรียนรู้ให้กับเด็กได้ดีมากๆ





        จากการที่ได้เข้าชมนิทรรศการครั้งนี้เป็นประโยชน์อย่างมากเพื่อจะนำไปใช้ได้เมื่อเราเป็นครูในอนาคตซึ่งได้ความรู้ทั้งเรื่องการจัดประสบการณ์ กิจกรรมต่างๆให้กับเด็ก การจัดโครงการในเรื่องที่เด็กสนใจจะเรียนรู้ สิ่งสำคัญคือ พี่ๆชั้นปีที่ 5 เป็นกันเองมากๆ สามารถถามได้ทุกเรื่องในสิ่งที่เราอยากรู้
    หลังจากชมนิทรรศการเสร็จอาจารย์ให้มารวมกันแล้วมอบหมายงานชิ้นต่อไปให้นักศึกษาอย่างชัดเจน 


         ☔คำศัพท์☔

1.Classroom research   การวิจัยในชั้นเรียน
2.Plan                 การวางแผน
3.Practice             การปฎิบัติ
4.Review               การทบทวน
5.Exhibition           นิทรรศการ
6.Project Approach     การสอนแบบโครงการ
7.Experience arrangement   การจัดประสบการณ์
8.Values              ค่านิยม
9.The area            พื้นที่
10.Equipment          วัสดุอุปกรณ์


การประเมิน

การประเมินตนเอง 🌞 วันนี้ได้เข้าชมนิทรรศการของพี่ๆชั้นปีที่ 5 ทำให้ตนเองมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเด็กมากขึ้น ในเรื่องการจัดประสบการณ์ การจัดกิจกรรมที่หลากหลาย

การประเมินเพื่อนร่วมห้อง 🌞 เพื่อนๆตั้งใจฟังที่พี่ๆได้ให้ความรู้และเล่าประสบการณ์ในการไปฝึกสอน

การประเมินอาจารย์ 🌞 อาจารย์ให้นักศึกษามาชมนิทรรศการที่พี่ๆชั้นปีที่ 5 ได้ไปฝึกสอนเป็นสิ่งที่ดีมากๆได้เป็นประโยชน์ต่อนักศึกษาและเป็นประสบการณ์ที่สำคัญ







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น