วันอาทิตย์ที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 💗 6

วันศุกร์ ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2562





ความรู้ที่ได้รับ

😊กิจกรรมที่ 1 นำเสนอการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

   ในการเรียนการสอนสำหรับวันนี้อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย เนื่องจากได้ทำเป็น Mapping เป็นงานกลุ่มทำเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งหัวข้อที่จะนำเสนอคือ 

 1.กิจกรรม  เป็นการจัดขึ้นให้เกิดการเรียนรู้สามารถพัฒนาไปอยู่ในการเรียนการสอนได้ กิจกรรมที่ครอบคลุมการพัฒนากล้ามเนื้อใหญ่ พัฒนากล้ามเนื้อเล็ก พัฒนาอารมณ์ จิตใจ และปลูกฝังคุณธรรม พัฒนาสังคมนิสัย พัฒนาการคิด พัฒนาภาษา และส่งเสริมจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก เป็นการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการที่สอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย

 2.สื่ิอ     เป็นตัวช่วยที่จะทำให้เราดำเนินกิจกรรมได้ง่ายขึ้น อย่างเช่น นิทาน เพลง และเป็นสิ่งต่างๆ ที่เป็นตัวกลางที่ผู้เลี้ยงดูเด็กนำมาช่วยใน การถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ ทัศนคติ ค่านิยม หรือทักษะที่ ตนมีไปสู่เด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเด็กเกิดการเรียนรู้ตาม จุดมุ่งหมายได้ดีที่สุด
     การจะเลือกใช้สื่อในการจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กปฐมวัย ในเบื้องต้นจะต้องตระหนักและเข้าใจว่าเด็กปฐมวัยเป็นที่เพิ่งเรียนรู้ที่จะปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่ที่เป็น พื้นฐานของการปรับตัวเพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม ดังนั้นการจะสอนให้เด็กปฐมวัยมีความรู้ ความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ ต้องเข้าใจพื้นฐานพัฒนาการของเด็กว่า เด็กยังแยกแยะสิ่งที่พบเห็นไม่ออก ควรเลือกใช้สื่อเพื่อเปรียบเทียบให้เด็กเห็นความแตกต่างระหว่างสิ่งต่าง ๆ หรือการสอนความรู้ความเข้าใจเรื่องจำนวน การให้เด็กดูสัญลักษณ์ตัวเลข ควรเป็นเพียงการสร้างความคุ้นเคยเบื้องต้น 

 3.เทคนิค  เป็นสิ่งที่สามารถทำให้เราดำเนินกิจกรรมที่จะช่วยให้ผู้เรียนรู้เข้าใจได้ดีมากยิ่งขึ้น  

🎆 กลุ่มที่ 1

     


      สมาชิกในกลุ่ม

  นางสาวพรรณทิภา  มามุ้ย
     นางสาวชนม์นิภา   อินทจันทร์
      นางสาวนันทกา    เนียมสูงเนิน
    นางสาวเจนศินี     เต็มหวัง
   นางสาวดาวจุฬา    สินตุ้น

   กลุ่มนี้นำเสนอเข้าใจแต่มีบางอย่างที่ต้องเพิ่มเติม ซึ่งอาจารย์ให้เพื่อนๆได้แก้ไขในส่วนที่ต้องมีและจำเป็น

                💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗

                       🎆 กลุ่มที่ 2

      

สมาชิกในกลุ่ม
       นางสาวสาธินี      จันทรามาศ
     นางสาวเบญจวรรณ  ปานขาว
     นางสาวปิยาภรณ์    วงป้อม
      นางสาวชลิตา      ภูผาแนบ
    
กลุ่มนี้นำเสนอยังไม่ค่อยละเอียดซึ่งเพื่อนๆสามารถเพิ่มเติมได้

      💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗

🎆 กลุ่มที่ 3

     

สมาชิกในกลุ่ม
    นายนภสินธุ์      พุ่มพุฒ
     นางสาวดวงกมล   สิทธิฤทธิ์
     นางสาวกนกอร    เกาะสังข์
    นางสาวศรสวรรค์   เทพยศ
      
เพื่อนๆนำเสนอได้เข้าใจแต่ส่วนเนื้อหาบางอย่างยังไม่ครบถ้วน

    💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗

🎆 กลุ่มที่ 4

      

สมาชิกในกลุ่ม
  นางสาวสุธิดา    ยศรุ่งเรือง
   นางสาวกัลยากร  เกิดสมบูรณ์
นางสาวปุณยวีร์   ยานิตย์
นางสาวชลิดา    ทารักษ์

เพื่อนๆนำเสนอตรงประเด็นในบางห้วข้อได้ดี

   💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗

🎆 กลุ่มที่ 5

     

สมาชิกในกลุ่ม
    นางสาวอมรรัตน์     คงสวัสดิ์
     นางสาวธัญญลักษณ์   บุญเรียง
      นางสาวขวัญฤทัย     นีลวัณโณ
     นางสาวจิรกิตติ์       ถิ่นพันธ์
  
กลุ่มนี้เป็นกลุ่มของหนูซึ่งอาจารย์ได้มีคำชมที่หามาได้หลากหลาย

   💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗

🎆 กลุ่มที่ 6

    

สมาชิกในกลุ่ม
 นางสาวชนิตา     โพธิ์ศรี
นางสาวชฎาพร    คำผง
      
กลุ่มนี้อาจารย์ใหเเพิ่มเติมและเนื้อหาหามาได้ตรงประเด็นในบางหัวข้อ

💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗

  หลังจากแต่ละกลุ่มนำเสนอเสร็จอาจารย์ได้แสดงความคิดเห็นว่าต้องปรับอย่างไรบ้าง แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอมีเนื้อหาทีไม่ค่อยตรงประเด็นที่อาจารย์ได้มอบหมายให้ไปหาข้อมูล เราสามรถนำสิ่งที่อาจารย์ได้แนะนำไปปรับใช้ได้ในงานชิ้นต่อไป 

วิธีการนำเสนอ

 🎇 การออกมานำเสนอต้องแนะนำสมาชิกในกลุ่ม เริ่มจาก " เรียนอาจารย์ที่เคารพและสวัสดีเพื่อนๆทุกคน กลุ่มของดิฉันจะออกมานำเสนอ... มีสมาชิกในกลุ่ม ดังนี้ ( ถ้าคนที่พูดแนะนำชื่อเพื่อนอยู่ด้านขวาพูดว่า ซ้ายมือสุดของดิฉันชื่อนางสาว ... ลำดับต่อมา ... ลำดับต่อมา... ไปเรื่อยๆจนถึงชื่อตนเอง )" 

 🎇 การพรีเซนต์กับกระดาษ ต้องเขียนให้ลายมือดูดี สวยงาม สามารถอ่านได้

 🎇 การหาเนื้อหา ต้องวิเคราะห์โจทย์ให้ได้ว่าคืิออะไร

คำถามเพิ่มเติมจากเพื่อน  

   การทำ Mapping จำเป็นต้องมีเนื้อหาเยอะมากน้อยแค่ไหนหรือเนื้อหาน้อยเขียนแต่หัวข้อ แบบไหนดีที่สุด
👉 ถ้ามีเนื้อหาน้อยมีแต่หัวข้อ เราสามารถอธิบายได้จะขึ้นอยู่กับประเด็นที่เราจะนำเสนอ จะไม่สามารถยอกได้ว่าแบบไหนดีกว่ากัน   ต้องมีหัวข้อย่อย หัวข้อรอง  
  การประเมิน Mapping ของอาจารย์ 👉 สามารถวิเคราะห์หัวข้อรองได้แค่ไหน การเขียนมีทิศทาง มีลำดับจากขวาไปซ้ายเป็นเข็มนาฬิกา



😊กิจกรรมที่ 2 การปั้นรูปทรงจากดินน้ำมัน
   
  อาจารย์ได้ให้อุปกรณ์มาทำกิจกรรม มีดังนี้
1.กระดาษขาวเทา ( แบบแข็ง )
2.กรรไกร
3.ดินน้ำมัน
4.ไม้จิ้มฟัน

        หลังจากนั้นอาจารย์ให้นั่งเป็นครึ่งวงกลมเพื่อที่จะเห็นหน้ากันทุกคน 



วิธีการปฎิบัติกิจกรรม

     การตัดกระดาษขาวเทา ( แบบแข็ง )เป็นชิ้นเล็กๆขนาด 3x3 นิ้ว คนละ 1 แผ่น 



     ปั้นดินน้ำมันเป็นรูปทรงอะไรก็ได้ให้เกิดเป็นรูป 2 มิติ วางไว้บนกระดาษ หนูได้ปั้นเป็นรูปสามเหลี่ยม อาจารย์ให้บอกของแต่ละคนว่าปั้นเป็นรูปทรงอะไรบ้าง อย่างเช่น วงกลม สามเหลี่ยม วงรี ทรงกระบอก ห้าเหลี่ยม สี่เหลี่ยม ( ผืนผ้า จัตุรัส ขนมเปียกปูน )



☀☀ รูปทรงต่างๆจะเข้ามาเกี่ยวข้องกับสิ่งของในชีวิตประจำวัน อย่างเช่น รูปทรงกระบอก เป็น ขวดน้ำ วงกลม เป็น ลูกฟุตบอล " คณิตสาสตร์คือเรื่องในชีวิตประจำวัน "

    อาจารย์ให้ทุกคนปั้นดินน้ำมันโดยใช้ความคิด ทำอย่างไรให้เป็นรูปทรง 3 มิติโดยใช้ไม้จิ้มฟัน ใหเต่อเนื่องกับที่ตนเองได้ทำรูป 2 มิติ 











   หลังจากที่ทุกคนทำเสร็จอาจารย์ได้อธิบายว่าทำอย่างไรที่จะถูกต้อง เป็นการทำแบบโครงของรูปทรงให้ออกมาเป็น 3 มิติ ที่จะต้องมีด้าน
   กิจกรรมนี้เด็กได้เรื่องของโครงสร้างรูปทรงสามารถสอนเป็นกิจกรรมสร้างสรรค์ได้ สื่อที่นำมาจัดกิจกรรมคือ ไม้จิ้มฟัน ดินน้ำมัน เทคนิค คือ การทำรูปทรงให้เป็น 2 มิติแล้วทำต่อเป็น 3 มิติ

😊กิจกรรมที่ 3 การคิดจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ด้วยป้ายชื่อ

  อาจารย์ให้ออกแบบป้ายชื่อของตนเอง โดยการตัดกระดาษขาวเทา ขนาดกว้าง 1 นิ้ว ยาว 3 นิ้ว เขียนชื่อตัวอักษรแล้วให้เราออกแบบเอง ตกแต่งให้สวยงาม



   อาจารย์ให้คิดวิเคาระห์ว่า เรามีสื่อคนละ 1 ชิ้น คือป้ายชื่อของตนเองสามารถจัดกิจกรรมอะไรได้บ้างให้เด็กได้ประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ซี่งอาจารย์ให้ช่วยกันคิดจากแผ่นป้าย 

👱👶กิจกรรมที่ 1 สำรวจการมาเรียนของเด็ก

  การแยกแผ่นป้ายสีฟ้าเป็นผู้ชาย สีชมพูเป็นผู้หญิง เด็กสามรถนำป้ายชื่อของตนเองไปติด เรียงลำดับลงมา เด็กได้เรื่องคณิตศาสตร์เกี่ยวกับการจำแนก จัดหมวดหมู่ โดยใช้สี มีเกณฑ์ คือ เพศหญิง เพศชาย การเรียงลำดับสะท้อนจากเรื่องเวลา ได้เรื่องของการนับ บอกจำนวน ลำดับที่และการติดตัวเลข เช่น ติดลำดับ 1-8 ติดแค่เลข 8 ตัวเดียวมีความแตกต่าง การเปรียบเทียบมากกว่า น้อยกว่า
    
  👦👧 การเป็นครูเราต้องแปลงเรื่องยากๆให้เป็นเรื่องง่ายๆ ทำเรื่องนามธรรมให้เป็นรูปธรรมสามารถดูง่าย

ความรู้เพิ่มเติม

    อาจารย์ได้พูดถึงพัฒนาการทางด้านสติปัญญาของเพียเจต์เป็นพัฒนาการตามลำดับขั้นตอนเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง คว่ำ คืบ คลาน นั่ง ยืน เดิน วิ่ง 
    หลังจากนั้นอาจารย์ได้มอบหมายงานให้ทำเรื่องพัฒนาการทางด้านสติปัญญาของเพียเจต์ และ หาสื่อเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ มีวัสดุอุปกรณ์ และ จุดประสงค์ นำมาส่งในสัปดาห์ถัดไป


👱👶 บรรยากาศในห้องเรียน








       💦คำศัพท์💦

1.Presentation           การนำเสนอ
2.Clay                   ดินน้ำมัน
3.Toothpick              ไม้จิ้มฟัน
4.Shape                  รูปทรง
5.Circle                 วงกลม
6.Oval                   วงรี
7.Cylinder               ทรงกระบอก
8.Structure              โครงสร้าง
9.Creative activities    กิจกรรมสร้างสรรค์
10.Design                ออกแบบ

การประเมิน

ประเมินตนเอง  💜 วันนี้ได้ออกไปนำเสนอหน้าห้องเรียนทำให้ตนเองกล้าแสดงออกมากขึ้นและเห็นถึงความร่วมมือของเพื่อนๆในกลุ่ม ได้คิดในเรื่องของการปั้นอย่างไรให้เป็นรูป 3 มิติและคิดกิจกรรมเกี่ยวกับป้ายชื่อ

ประเมินเพื่อนร่วมห้อง  💜 เพื่อนๆให้ความร่วมมือดีมากในเรื่องของงานกลุ่มและตั้งใจฟังคำสั่งของอาจารย์ว่าอาจารย์ให้ทำอะไรบ้างได้ช่วยกันคิด

ประเมินอาจารย์  💜 อาจารย์ให้นักศึกษาช่วยกันคิดเป็นสิ่งที่ดีมาก มีคำพูดกระตุ้นให้คิดทำให้นักศึกษาได้ความรู้ที่หลากหลาย










ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น