วันอาทิตย์ที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 💗 8

วันพุธ  ที่ 13  มีนาคม  พ.ศ.2562



ความรู้ที่ได้รับ

          ในการเรียนการสอนสำหรับวันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษาเรียนรวมกันทั้ง 2 เซคซึ่งวันนี้อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มที่แบ่งกันไว้ในการทำสื่อการเรียนรู้คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ได้มาเอาอุปกรณ์การทำสื่อของแต่ละกลุ่มที่อาจารย์ได้เตรียมไว้และได้อธิบายเพิ่มเติมของแต่ละกลุ่มว่าควรใช้อะไรบ้าง อย่างเช่น 

💟 กระดาษขาวเทา ( แผ่นใหญ่ ) 
💟 กระดาษสี (  แบบแข็ง ) 
💟 ฟิวเจอร์บอร์ด    
💟 สติ๊กเกอร์ติดขอบ 
💟 ไหมพรม  
💟 สีเมจิก ( สีแดง  สีดำ )  
💟 ของตกแต่งต่างๆ 
💟 กระดาษร้อยปอนด์
💟 แม่เหล็ก 
💟 ตีนตุ๊กแก 
💟 กาว
💟 สติ๊กเกอร์แผ่นใส



       การให้อุปกรณ์ของแต่ละกลุ่มอาจารย์ได้พูดแต่ละอย่างแล้วให้ตัวแทนกลุ่มได้ออกไปเอาอุปกรณ์ซึ่งบางอย่างอาจจะไม่มี อาจารย์ได้สั่งเพิ่มให้ กำหนดการส่งสื่อการเรียนรู้คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย วันศุกร์ ที่ 22  มีนาคม พ.ศ.2562 พร้อมทั้งออกมานำเสนอ ทั้ง 2  เซค ทุกอย่างต้องเตรียมมาให้พร้อม

         อาจารย์ได้อธิบายการทำสื่อแล้วมีการเก็บรูปภาพไปใส่ใน BLOGGER  จะมีหัวข้อ ดังนี้

1.อุปกรณ์  👉  เครื่องมือ, เครื่องใช้, เครื่องสำหรับช่วย, เครื่องประกอบ.
2.วัตถุประสงค์ 👉 เป้าหมาย หรือผลที่ต้องการให้บรรลุ, จุดประสงค์
3.ขั้นตอนวิธีการทำ  👉  ในการทำงานอย่างเดียวกัน อาจจะเลือกขั้นตอนวิธีที่ต่างกันเพื่อแก้ปัญหาได้ โดยที่ผลลัพธ์ที่ได้ในขั้นสุดท้ายจะออกมาเหมือนกันหรือไม่ก็ได้

       ความรู้เพิ่มเติม

👯 การสอนเด็กปฐมวัยอย่าเริ่มต้นสอนด้วยแบบฝึกหัด ทำสิ่งที่เป็นนามธรรม ไม่เหมาะสมกับเด็ก

👯 การพัฒนาเด็กปฐมวัยต้องพัฒนารูปธรรมไปสู่นามธรรม ต้องผ่านขั้นอนุรักษ์

👯 ถ้าเด็กผ่านขั้นอนุรักษ์แสดงว่าเด็ก ตอบได้โดยใช้เหตุผล

👯 การออกแบบสื่อ ต้องให้เด็กได้จับเป็นชิ้น "รูปธรรม"



บรรยากาศในห้องเรียน











                   👩 คำศัพท์ 👨

1.Device                               อุปกรณ์
2.Objective                          วัตถุประสงค์
3.Step                                  ขั้นตอน
4.Magnet                             แม่เหล็ก
5.Design                              การออกแบบ
6.Learning  media               สื่อการเรียนรู้
7.Abstract                           นามธรรม
8.Concrete                          รูปธรรม
9.Exercise                           แบบฝึกหัด
10.Picture                           รูปภาพ
        

การประเมิน


ประเมินตนเอง 💙 วันนี้ได้อุปกรณ์ในการทำสื่อของกลุ่มตัวเองและได้ความรู้เพิ่มเติมจากอาจารย์ก่อนที่จะลงมือทำสื่อ

ประเมินเพื่อนร่วมห้อง 💙 เพื่อนๆทุกคนได้ตั้งใจฟังอาจารย์ในการรับอุปกรณ์ของแต่ละกลุ่มช่วยกันแบ่งของ

ประเมินอาจารย์ 💙 อาจารย์ได้ให้นักศึกษามารับอุปกรณ์ของแต่ละกลุ่มซึ่งแบ่งได้ชัดเจนมากว่าแต่ละกลุ่มทำสื่ออะไรต้องใช้อุปกรณ์อะไรบ้าง



บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 💗 7

วันศุกร์ ที่ 8  มีนาคม  พ.ศ.2562




ความรู้ที่ได้รับ

กิจกรรมที่ 1 เลือกทำสื่อคณิตศาสตร์

          ในการเรียนการสอนสำหรบวันนี้อาจารย์ได้พูดถึงสื่อคณิตศาสตร์ที่ได้ให้นักศึกษาเลือกหาสื่อแล้วเขียนจุดประสงค์ วัสดุอุปกรณ์ อาจารย์ได้ปรับเปลี่ยนมาให้ทำสื่อเป็นรายกลุ่มซึ่งจะทำสื่อพร้อมกันในสัปดาห์ถัดไป กลุ่มละ 2-3 คน  แล้วแต่สื่อว่าง่ายหรือยาก 

          อาจารย์ได้พูดถึงกรอบมาตรฐานการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยของรายวิชานี้  จะสอดคล้องกับสื่อที่จะทำในครั้งนี้และอาจารย์ได้แบ่งตามสาระของการทำสื่อ


💧สาระและมาตรฐานการเรียนรู้

💚สาระที่ 1 : จำนวนและการดำเนินการ
มาตรฐาน ค.ป. 1.1 : เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวน และการใช้จำนวนในชีวิตจริง 

💚สาระที่ 2 : การวัด
มาตรฐาน ค.ป. 2.1 : เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และเวลา

💚สาระที่ 3 : เรขาคณิต
มาตรฐาน ค.ป. 3.1 : รู้จักใช้คำในการบอกตำแหน่ง ทิศทาง และ ระยะทาง
มาตรฐาน ค.ป. 3.2 : รู้จักจำแนกรูปเรขาคณิต และเข้าใจการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตที่เกิดจากการจัดกระทำ 

💚สาระที่ 4 : พีชคณิต
มาตรฐาน ค.ป 4.1 : เข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์

💚สาระที่ 5 :  การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
มาตรฐาน ค.ป. 5.1 : รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อม และนำเสนอ

💚สาระที่ 6 : ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

       อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มเลือกว่าจะทำสื่อเรื่องอะไรตามหัวข้อที่อาจารย์ได้บอก มีวิธีการทำให้ด้วย  สื่อแต่ละกลุ่มจะมีดังนี้ 

กลุ่มที่  1 👉  จิ๊กซอว์ตัวเลข 0-9 

กลุ่มที่  2 👉  บิงโกจำนวน

กลุ่มที่  3 👉  ตาชั่ง 2 แขน

กลุ่มที่  4 👉  แผ่นกราฟแท่ง

กลุ่มที่  5 👉  แผ่นกราฟเส้น

กลุ่มที่  6 👉  ความสัมพันธ์ 2 แกน

กลุ่มที่  7 👉  ร้อยลูกปัดฝาขวด

กลุ่มที่  8 👉  คานดีดจากไม้ไอติม

กลุ่มที่  9 👉  บวกเลขจากภาพ

กลุ่มที่  10 👉  ไม้ไอติมสอนเลข

          หลังจากนั้นอาจารย์ได้ให้เขียนชื่อสมาชิกในกลุ่ม และเขียนวัสดุอุปกรณ์ที่จะทำ ซึ่งกลุ่มหนูมีทั้งหมด 3 คน ได้สื่อ "  กราฟแท่ง "





 ความรู้เพิ่มเติม

📖 การที่เด็กใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ลงมือกระทำต่อวัตถุ เลือกและตัดสินใจด้วยตนเอง
📖 การเล่น เป็นวิธีการของเด็กในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เกิดการเรียนรู้
📖 วิธีการที่ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 
📖 เด็กเกิดการเรียนรู้ เราวัดได้จากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตลอดเวลาเพื่อการอยู่รอด
📖 เด็กไม่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม เรียกว่า การรับรู้
📖 วิธีการเล่นของเด็กสัมพันธ์กับการทำงานของสมองใช้ประสาทสัมผัสรับรู้ ซึมซับเหมือนฟองน้ำ เช่น กระดาษวาดเขียนสีขาวชุบน้ำหมาดๆ เด็กหยดสีจะกระจาย หยดสีแดงแตกกระจายสอดคล้องเกิดเป็นสีม่วงเกี่ยวข้องกับความรู้เดิมปรับโครงสร้างเป็นความรู้ใหม่
📖 ซึมซับ 👉 Assimilation 
📖 การปรับและจัดระบบ 👉 Accommodation

😊พัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์

  ได้นำการทำงานของสมองมาจัดลำดับให้เปลี่ยนแปลงไปตามลำดับขั้นตอน เรียกว่า พัฒนาการ 
แรกเกิด - 2ปี 👱 Sensori motor stage การใช้ประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว 
2 - 4ปี 👱 การใช้ภาษา อ้อแอ้ เป็นคำๆ
4 - 6ปี 👱 ประโยคยาวมากขึ้น
เพิ่มเติม




     เพียเจต์ (Piaget) ได้ศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการทางด้านความคิดของเด็กว่ามีขั้นตอนหรือกระบวนการอย่างไร ทฤษฎีของเพียเจต์ตั้งอยู่บนรากฐานของทั้งองค์ประกอบที่เป็นพันธุกรรม และสิ่งแวดล้อม เขาอธิบายว่า การเรียนรู้ของเด็กเป็นไปตามพัฒนาการทางสติปัญญา ซึ่งจะมีพัฒนาการไปตามวัยต่าง ๆ เป็นลำดับขั้น พัฒนาการเป็นสิ่งที่เป็นไปตามธรรมชาติ ไม่ควรที่จะเร่งเด็กให้ข้ามจากพัฒนาการจากขั้นหนึ่งไปสู่อีกขั้นหนึ่ง

ทฤษฎีการเรียนรู้
   พัฒนาการทางสติปัญญาของบุคคลเป็นไปตามวัยต่าง ๆ เป็นลำดับขั้น ดังนี้

 1.ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว (Sensori-Motor Stage) ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 2 ปี พฤติกรรมของเด็กในวัยนี้ขึ้นอยู่กับการเคลื่อนไหวเป็นส่วนใหญ่ เช่น การไขว่คว้า การเคลื่อนไหว การมอง การดู ในวัยนี้เด็กแสดงออกทางด้านร่างกายให้เห็นว่ามีสติปัญญาด้วยการกระทำ เด็กสามารถแก้ปัญหาได้ แม้ว่าจะไม่สามารถอธิบายได้ด้วยคำพูด

 2.ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด (Preoperational Stage) ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่อายุ 2-7 ปี แบ่งออกเป็นขั้นย่อยอีก 2 ขั้น คือ 

-- ขั้นก่อนเกิดสังกัป (Preconceptual Thought) เป็นขั้นพัฒนาการของเด็กอายุ 2-4 ปี เป็นช่วงที่เด็กเริ่มมีเหตุผลเบื้องต้น สามารถจะโยงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์ 2 เหตุการณ์ หรือมากกว่ามาเป็นเหตุผลเกี่ยวโยงซึ่งกันและกัน แต่เหตุผลของเด็กวัยนี้ยังมีขอบเขตจำกัดอยู่ เพราะเด็กยังคงยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง

-- ขั้นการคิดแบบญาณหยั่งรู้ นึกออกเองโดยไม่ใช้เหตุผล (Intuitive Thought) เป็นขั้นพัฒนาการของเด็ก อายุ 4-7 ปี ขั้นนี้เด็กจะเกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ รวมตัวดีขึ้น รู้จักแยกประเภทและแยกชิ้นส่วนของวัตถุ เข้าใจความหมายของจำนวนเลข เริ่มมีพัฒนาการเกี่ยวกับการอนุรักษ์ แต่ไม่แจ่มชัดนัก

❤กระบวนการทางสติปัญญามีลักษณะดังนี้

1.การซึมซับหรือการดูดซึม (assimilation) เป็นกระบวนการทางสมองในการรับประสบการณ์ เรื่องราว และข้อมูลต่าง ๆ เข้ามาสะสมเก็บไว้เพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป
2.การปรับและจัดระบบ (accommodation) คือ กระบวนการทางสมองในการปรับประสบการณ์เดิมและประสบการณ์ใหม่ให้เข้ากันเป็นระบบหรือเครือข่ายทางปัญญาที่ตนสามารถเข้าใจได้ เกิดเป็นโครงสร้างทางปัญญาใหม่ขึ้น
3.การเกิดความสมดุล (equilibration) เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นจากขั้นของการปรับ หากการปรับเป็นไปอย่างผสมผสานกลมกลืนก็จะก่อให้เกิดสภาพที่มีความสมดุลขึ้น หากบุคคลไม่สามารถปรับประสบการณ์ใหม่และประสบการณ์เดิมให้เข้ากันได้ ก็จะเกิดภาวะความไม่สมดุลขึ้น ซึ่งจะก่อให้เกิดความขัดแย้งทางปัญญาขึ้นในตัวบุคคล

❤การนำไปใช้ในการจัดการศึกษา / การสอน

เมื่อทำงานกับนักเรียน ผู้สอนควรคำนึงถึงพัฒนาการทางสติปํญญาของนักเรียนดังต่อไปนี้

นักเรียนที่มีอายุเท่ากันอาจมีขั้นพัฒนาการทางสติปัญญาที่แตกต่างกัน ดังนั้นจึงไม่ควรเปรียบเทียบเด็ก ควรให้เด็กมีอิสระที่จะเรียนรู้และพัฒนาความสามารถของเขาไปตามระดับพัฒนาการของเขา นักเรียนแต่ละคนจะได้รับประสบการณ์ 2 แบบคือ
ประสบการณ์ทางกายภาพ (physical experiences) จะเกิดขึ้นเมื่อนักเรียนแต่ละคนได้ปฏิสัมพันธ์กับวัตถุต่าง ในสภาพแวดล้อมโดยตรง 
ประสบการณ์ทางตรรกศาสตร์ (Logicomathematical experiences) จะเกิดขึ้นเมื่อนักเรียนได้พัฒนาโครงสร้างทางสติปัญญาให้ความคิดรวบยอดที่เป็นนามธรรม 
หลักสูตรที่สร้างขึ้นบนพื้นฐานทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ ควรมีลักษณะดังต่อไปนี้คือ 
--เน้นพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียนโดยต้องเน้นให้นักเรียนใช้ศักยภาพของตนเองให้มากที่สุด 
--เสนอการเรียนการเสนอที่ให้ผู้เรียนพบกับความแปลกใหม่ 
--เน้นการเรียนรู้ต้องอาศัยกิจกรรมการค้นพบ 
--เน้นกิจกรรมการสำรวจและการเพิ่มขยายความคิดในระหว่างการเรียนการสอน 
--ใช้กิจกรรมขัดแย้ง (cognitive conflict activities) โดยการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นนอกเหนือจากความคิดเห็นของตนเอง 
การสอนที่ส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียนควรดำเนินการดังต่อไปนี้ 
--ถามคำถามมากกว่าการให้คำตอบ 
--ครูผู้สอนควรจะพูดให้น้อยลง และฟังให้มากขึ้น 
--ควรให้เสรีภาพแก่นักเรียนที่จะเลือกเรียนกิจกรรมต่าง ๆ 
--เมื่อนักเรียนให้เหตุผลผิด ควรถามคำถามหรือจัดประสบการณ์ให้นักเรียนใหม่ เพื่อนักเรียนจะได้แก้ไขข้อผิดพลาดด้วยตนเอง 
--ชี้ระดับพัฒนาการทางสติปัญญาของนักเรียนจากงานพัฒนาการทางสติปัญญาขั้นนามธรรมหรือจากงานการอนุรักษ์ เพื่อดูว่านักเรียนคิดอย่างไร 
--ยอมรับความจริงที่ว่า นักเรียนแต่ละคนมีอัตราพัฒนาการทางสติปัญญาที่แตกต่างกัน 
--ผู้สอนต้องเข้าใจว่านักเรียนมีความสามารถเพิ่มขึ้นในระดับความคิดขั้นต่อไป 
--ตระหนักว่าการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นเพราะจดจำมากกว่าที่จะเข้าใจ เป็นการเรียนรู้ที่ไม่แท้จริง (pseudo learning) 
ในขั้นประเมินผล ควรดำเนินการสอนต่อไปนี้ 
--มีการทดสอบแบบการให้เหตุผลของนักเรียน 
--พยายามให้นักเรียนแสดงเหตุผลในการตอนคำถามนั้น ๆ 
--ต้องช่วยเหลือนักเรียนทีมีพัฒนาการทางสติปัญญาต่ำกว่าเพื่อร่วมชั้น


ดูเพิ่มเติมได้ที่  👉 https://www.youtube.com/watch?time_continue=26&v=yIxOrL_BRZ8

😊การคิด

2 - 6ปี 👱 มีขั้นอนุรักษ์ เกิดจากตาเห็น สามารถบอกเหตุผลได้เป็นนามธรรม

  👌👌พัฒนาการทางสติปัญญาทางคณิตศาสตร์ ต้องให้เด็กเกิดการเรียนรู้จากรูปธรรมก่อนไปนามธรรม



บรรยากาศในห้องเรียน






                        💙คำศัพท์💚

1. Assimilation                ซึมซับ
2. Accommodation               การปรับและจัดระบบ
3. Sensori motor stage         การใช้ประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว
4. Conserve                    อนุรักษ์
5. Reason                      เหตุผล
6. Learning                    การเรียนรู้
7. The method of children      วิธีการของเด็ก
8. The functioning of the brain  การทำงานของสมอง
9. Purpose                     จุดประสงค์
10. ฺBar graph                   กราฟแท่ง


การประเมิน

ประเมินตนเอง 💓 วันนี้ไดเรียนรู้เกี่ยวกับสื่อคณิคศาสตร์ที่มีความหลากหลายบางอย่างเราไม่เคยรู้ก็ได้รู้และมีความรู้เกี่ยวกับพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์เพิ่มมากขึ้น

ประเมินเพื่อนร่วมห้อง 💓 เพื่อนๆได้ช่วยกันตอบเมื่ออาจารย์ถามให้ความร่วมมือดีมากและวันนี้ได้จับกลุ่ในการทำสื่อได้ช่วยกันเลือกสื่อที่จะทำ

ประเมินอาจารย์ 💓 อาจารย์ได้ทบทวนสิ่งที่เคยสอนเกี่ยวกับเรื่องพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ทำให้นักศึกษาจำได้ดีขึ้นและชอบที่อาจารย์ได้บอกในเรื่องของสื่อว่าสื่อนี้ทำอย่างไรทำให้นักศึกษาเข้าใจได้ง่าย



บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 💗 6

วันศุกร์ ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2562





ความรู้ที่ได้รับ

😊กิจกรรมที่ 1 นำเสนอการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

   ในการเรียนการสอนสำหรับวันนี้อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย เนื่องจากได้ทำเป็น Mapping เป็นงานกลุ่มทำเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งหัวข้อที่จะนำเสนอคือ 

 1.กิจกรรม  เป็นการจัดขึ้นให้เกิดการเรียนรู้สามารถพัฒนาไปอยู่ในการเรียนการสอนได้ กิจกรรมที่ครอบคลุมการพัฒนากล้ามเนื้อใหญ่ พัฒนากล้ามเนื้อเล็ก พัฒนาอารมณ์ จิตใจ และปลูกฝังคุณธรรม พัฒนาสังคมนิสัย พัฒนาการคิด พัฒนาภาษา และส่งเสริมจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก เป็นการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการที่สอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย

 2.สื่ิอ     เป็นตัวช่วยที่จะทำให้เราดำเนินกิจกรรมได้ง่ายขึ้น อย่างเช่น นิทาน เพลง และเป็นสิ่งต่างๆ ที่เป็นตัวกลางที่ผู้เลี้ยงดูเด็กนำมาช่วยใน การถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ ทัศนคติ ค่านิยม หรือทักษะที่ ตนมีไปสู่เด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเด็กเกิดการเรียนรู้ตาม จุดมุ่งหมายได้ดีที่สุด
     การจะเลือกใช้สื่อในการจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กปฐมวัย ในเบื้องต้นจะต้องตระหนักและเข้าใจว่าเด็กปฐมวัยเป็นที่เพิ่งเรียนรู้ที่จะปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่ที่เป็น พื้นฐานของการปรับตัวเพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม ดังนั้นการจะสอนให้เด็กปฐมวัยมีความรู้ ความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ ต้องเข้าใจพื้นฐานพัฒนาการของเด็กว่า เด็กยังแยกแยะสิ่งที่พบเห็นไม่ออก ควรเลือกใช้สื่อเพื่อเปรียบเทียบให้เด็กเห็นความแตกต่างระหว่างสิ่งต่าง ๆ หรือการสอนความรู้ความเข้าใจเรื่องจำนวน การให้เด็กดูสัญลักษณ์ตัวเลข ควรเป็นเพียงการสร้างความคุ้นเคยเบื้องต้น 

 3.เทคนิค  เป็นสิ่งที่สามารถทำให้เราดำเนินกิจกรรมที่จะช่วยให้ผู้เรียนรู้เข้าใจได้ดีมากยิ่งขึ้น  

🎆 กลุ่มที่ 1

     


      สมาชิกในกลุ่ม

  นางสาวพรรณทิภา  มามุ้ย
     นางสาวชนม์นิภา   อินทจันทร์
      นางสาวนันทกา    เนียมสูงเนิน
    นางสาวเจนศินี     เต็มหวัง
   นางสาวดาวจุฬา    สินตุ้น

   กลุ่มนี้นำเสนอเข้าใจแต่มีบางอย่างที่ต้องเพิ่มเติม ซึ่งอาจารย์ให้เพื่อนๆได้แก้ไขในส่วนที่ต้องมีและจำเป็น

                💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗

                       🎆 กลุ่มที่ 2

      

สมาชิกในกลุ่ม
       นางสาวสาธินี      จันทรามาศ
     นางสาวเบญจวรรณ  ปานขาว
     นางสาวปิยาภรณ์    วงป้อม
      นางสาวชลิตา      ภูผาแนบ
    
กลุ่มนี้นำเสนอยังไม่ค่อยละเอียดซึ่งเพื่อนๆสามารถเพิ่มเติมได้

      💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗

🎆 กลุ่มที่ 3

     

สมาชิกในกลุ่ม
    นายนภสินธุ์      พุ่มพุฒ
     นางสาวดวงกมล   สิทธิฤทธิ์
     นางสาวกนกอร    เกาะสังข์
    นางสาวศรสวรรค์   เทพยศ
      
เพื่อนๆนำเสนอได้เข้าใจแต่ส่วนเนื้อหาบางอย่างยังไม่ครบถ้วน

    💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗

🎆 กลุ่มที่ 4

      

สมาชิกในกลุ่ม
  นางสาวสุธิดา    ยศรุ่งเรือง
   นางสาวกัลยากร  เกิดสมบูรณ์
นางสาวปุณยวีร์   ยานิตย์
นางสาวชลิดา    ทารักษ์

เพื่อนๆนำเสนอตรงประเด็นในบางห้วข้อได้ดี

   💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗

🎆 กลุ่มที่ 5

     

สมาชิกในกลุ่ม
    นางสาวอมรรัตน์     คงสวัสดิ์
     นางสาวธัญญลักษณ์   บุญเรียง
      นางสาวขวัญฤทัย     นีลวัณโณ
     นางสาวจิรกิตติ์       ถิ่นพันธ์
  
กลุ่มนี้เป็นกลุ่มของหนูซึ่งอาจารย์ได้มีคำชมที่หามาได้หลากหลาย

   💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗

🎆 กลุ่มที่ 6

    

สมาชิกในกลุ่ม
 นางสาวชนิตา     โพธิ์ศรี
นางสาวชฎาพร    คำผง
      
กลุ่มนี้อาจารย์ใหเเพิ่มเติมและเนื้อหาหามาได้ตรงประเด็นในบางหัวข้อ

💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗

  หลังจากแต่ละกลุ่มนำเสนอเสร็จอาจารย์ได้แสดงความคิดเห็นว่าต้องปรับอย่างไรบ้าง แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอมีเนื้อหาทีไม่ค่อยตรงประเด็นที่อาจารย์ได้มอบหมายให้ไปหาข้อมูล เราสามรถนำสิ่งที่อาจารย์ได้แนะนำไปปรับใช้ได้ในงานชิ้นต่อไป 

วิธีการนำเสนอ

 🎇 การออกมานำเสนอต้องแนะนำสมาชิกในกลุ่ม เริ่มจาก " เรียนอาจารย์ที่เคารพและสวัสดีเพื่อนๆทุกคน กลุ่มของดิฉันจะออกมานำเสนอ... มีสมาชิกในกลุ่ม ดังนี้ ( ถ้าคนที่พูดแนะนำชื่อเพื่อนอยู่ด้านขวาพูดว่า ซ้ายมือสุดของดิฉันชื่อนางสาว ... ลำดับต่อมา ... ลำดับต่อมา... ไปเรื่อยๆจนถึงชื่อตนเอง )" 

 🎇 การพรีเซนต์กับกระดาษ ต้องเขียนให้ลายมือดูดี สวยงาม สามารถอ่านได้

 🎇 การหาเนื้อหา ต้องวิเคราะห์โจทย์ให้ได้ว่าคืิออะไร

คำถามเพิ่มเติมจากเพื่อน  

   การทำ Mapping จำเป็นต้องมีเนื้อหาเยอะมากน้อยแค่ไหนหรือเนื้อหาน้อยเขียนแต่หัวข้อ แบบไหนดีที่สุด
👉 ถ้ามีเนื้อหาน้อยมีแต่หัวข้อ เราสามารถอธิบายได้จะขึ้นอยู่กับประเด็นที่เราจะนำเสนอ จะไม่สามารถยอกได้ว่าแบบไหนดีกว่ากัน   ต้องมีหัวข้อย่อย หัวข้อรอง  
  การประเมิน Mapping ของอาจารย์ 👉 สามารถวิเคราะห์หัวข้อรองได้แค่ไหน การเขียนมีทิศทาง มีลำดับจากขวาไปซ้ายเป็นเข็มนาฬิกา



😊กิจกรรมที่ 2 การปั้นรูปทรงจากดินน้ำมัน
   
  อาจารย์ได้ให้อุปกรณ์มาทำกิจกรรม มีดังนี้
1.กระดาษขาวเทา ( แบบแข็ง )
2.กรรไกร
3.ดินน้ำมัน
4.ไม้จิ้มฟัน

        หลังจากนั้นอาจารย์ให้นั่งเป็นครึ่งวงกลมเพื่อที่จะเห็นหน้ากันทุกคน 



วิธีการปฎิบัติกิจกรรม

     การตัดกระดาษขาวเทา ( แบบแข็ง )เป็นชิ้นเล็กๆขนาด 3x3 นิ้ว คนละ 1 แผ่น 



     ปั้นดินน้ำมันเป็นรูปทรงอะไรก็ได้ให้เกิดเป็นรูป 2 มิติ วางไว้บนกระดาษ หนูได้ปั้นเป็นรูปสามเหลี่ยม อาจารย์ให้บอกของแต่ละคนว่าปั้นเป็นรูปทรงอะไรบ้าง อย่างเช่น วงกลม สามเหลี่ยม วงรี ทรงกระบอก ห้าเหลี่ยม สี่เหลี่ยม ( ผืนผ้า จัตุรัส ขนมเปียกปูน )



☀☀ รูปทรงต่างๆจะเข้ามาเกี่ยวข้องกับสิ่งของในชีวิตประจำวัน อย่างเช่น รูปทรงกระบอก เป็น ขวดน้ำ วงกลม เป็น ลูกฟุตบอล " คณิตสาสตร์คือเรื่องในชีวิตประจำวัน "

    อาจารย์ให้ทุกคนปั้นดินน้ำมันโดยใช้ความคิด ทำอย่างไรให้เป็นรูปทรง 3 มิติโดยใช้ไม้จิ้มฟัน ใหเต่อเนื่องกับที่ตนเองได้ทำรูป 2 มิติ 











   หลังจากที่ทุกคนทำเสร็จอาจารย์ได้อธิบายว่าทำอย่างไรที่จะถูกต้อง เป็นการทำแบบโครงของรูปทรงให้ออกมาเป็น 3 มิติ ที่จะต้องมีด้าน
   กิจกรรมนี้เด็กได้เรื่องของโครงสร้างรูปทรงสามารถสอนเป็นกิจกรรมสร้างสรรค์ได้ สื่อที่นำมาจัดกิจกรรมคือ ไม้จิ้มฟัน ดินน้ำมัน เทคนิค คือ การทำรูปทรงให้เป็น 2 มิติแล้วทำต่อเป็น 3 มิติ

😊กิจกรรมที่ 3 การคิดจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ด้วยป้ายชื่อ

  อาจารย์ให้ออกแบบป้ายชื่อของตนเอง โดยการตัดกระดาษขาวเทา ขนาดกว้าง 1 นิ้ว ยาว 3 นิ้ว เขียนชื่อตัวอักษรแล้วให้เราออกแบบเอง ตกแต่งให้สวยงาม



   อาจารย์ให้คิดวิเคาระห์ว่า เรามีสื่อคนละ 1 ชิ้น คือป้ายชื่อของตนเองสามารถจัดกิจกรรมอะไรได้บ้างให้เด็กได้ประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ซี่งอาจารย์ให้ช่วยกันคิดจากแผ่นป้าย 

👱👶กิจกรรมที่ 1 สำรวจการมาเรียนของเด็ก

  การแยกแผ่นป้ายสีฟ้าเป็นผู้ชาย สีชมพูเป็นผู้หญิง เด็กสามรถนำป้ายชื่อของตนเองไปติด เรียงลำดับลงมา เด็กได้เรื่องคณิตศาสตร์เกี่ยวกับการจำแนก จัดหมวดหมู่ โดยใช้สี มีเกณฑ์ คือ เพศหญิง เพศชาย การเรียงลำดับสะท้อนจากเรื่องเวลา ได้เรื่องของการนับ บอกจำนวน ลำดับที่และการติดตัวเลข เช่น ติดลำดับ 1-8 ติดแค่เลข 8 ตัวเดียวมีความแตกต่าง การเปรียบเทียบมากกว่า น้อยกว่า
    
  👦👧 การเป็นครูเราต้องแปลงเรื่องยากๆให้เป็นเรื่องง่ายๆ ทำเรื่องนามธรรมให้เป็นรูปธรรมสามารถดูง่าย

ความรู้เพิ่มเติม

    อาจารย์ได้พูดถึงพัฒนาการทางด้านสติปัญญาของเพียเจต์เป็นพัฒนาการตามลำดับขั้นตอนเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง คว่ำ คืบ คลาน นั่ง ยืน เดิน วิ่ง 
    หลังจากนั้นอาจารย์ได้มอบหมายงานให้ทำเรื่องพัฒนาการทางด้านสติปัญญาของเพียเจต์ และ หาสื่อเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ มีวัสดุอุปกรณ์ และ จุดประสงค์ นำมาส่งในสัปดาห์ถัดไป


👱👶 บรรยากาศในห้องเรียน








       💦คำศัพท์💦

1.Presentation           การนำเสนอ
2.Clay                   ดินน้ำมัน
3.Toothpick              ไม้จิ้มฟัน
4.Shape                  รูปทรง
5.Circle                 วงกลม
6.Oval                   วงรี
7.Cylinder               ทรงกระบอก
8.Structure              โครงสร้าง
9.Creative activities    กิจกรรมสร้างสรรค์
10.Design                ออกแบบ

การประเมิน

ประเมินตนเอง  💜 วันนี้ได้ออกไปนำเสนอหน้าห้องเรียนทำให้ตนเองกล้าแสดงออกมากขึ้นและเห็นถึงความร่วมมือของเพื่อนๆในกลุ่ม ได้คิดในเรื่องของการปั้นอย่างไรให้เป็นรูป 3 มิติและคิดกิจกรรมเกี่ยวกับป้ายชื่อ

ประเมินเพื่อนร่วมห้อง  💜 เพื่อนๆให้ความร่วมมือดีมากในเรื่องของงานกลุ่มและตั้งใจฟังคำสั่งของอาจารย์ว่าอาจารย์ให้ทำอะไรบ้างได้ช่วยกันคิด

ประเมินอาจารย์  💜 อาจารย์ให้นักศึกษาช่วยกันคิดเป็นสิ่งที่ดีมาก มีคำพูดกระตุ้นให้คิดทำให้นักศึกษาได้ความรู้ที่หลากหลาย