วันเสาร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 💗 13

วันศุกร์ ที่ 3 พฤษภาคม  พ.ศ.2562




ความรู้ที่ได้รับ

       ในการเรียนการสอนสำหรับวันนี้อาจารย์ได้พูดถึงสาระสำคัญทางคณิตศาสตร์ ทั้งหมดมี  6 สาระ  เป็นมาตรฐานในเชิงนามธรรม เพราะมันเป็นสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์   กระบวนทางคณิตศาสตร์  เช่น  3+2  ,   5-6  สาระที่ 1-5  เกี่ยวข้องคณิตศาสตร์ พยายามให้ออกมาเป็นรูปธรรมให้เด็กได้ลงมือกระทำกับวัตถุด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 ต้องทำบ่อยๆจับต้องได้สอดคล้องกับการทำงานของสมอง

ข้อมูลน่ารู้❕❕

🌸สมอง  ทำหน้าที่  ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5  เป็นเครื่องมือที่จะเก็บข้อมูลส่งไปที่สมอง

สมอง  👉  ซึมซับ  /  รับรู้

🌸การกินอาหารดี ทำให้สมองเร็วสามารถปรับโครงสร้างเป็นความรู้ใหม่  สอดคล้องกับความรู้เดิม  Assimilation  ปรับโครงสร้างความรู้ใหม่  Accommodation

🌸ถ้าเราไม่นำไปใช้  เป็นการรับรู้
🌸ถ้าดึงออกมาใช้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม  เป็นการเรียนรู้  เพื่อความอยู่รอด
                             
                                                                      👱วิดีโอน่ารู้


ดูเพิ่มเติมได้ที่  👉 https://www.youtube.com/watch?v=vDXHTDAzQ5w


อาจารย์ให้ส่ง Mapping  สาระสำคัญทางคณิตศาสตร์ ที่ได้มอบหมายงานให้นักศึกษา




😊สาระสำคัญทางคณิตศาสตร์😊

เป็นหลักการที่ต้องการปลูกฝังให้แก่เด็ก ผู้สอนควรศึกษาสาระสำคัญทางคณิตศาสตร์ในกรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย  มีดังนี้

 👧 สาระที่ 1  จำนวนและดารดำเนินการ

1.จำนวนนับใช้บอกจำนวนของสิ่งต่างๆ
2.จำนวนนับ หนึ่ง  สอง  สาม   สี่   ห้า... เป็นจำนวนนับที่นับเพิ่มขึ้นทีละหนึ่งตามลำดับ
3.ศูนย์ไม่ใช่จำนวนนับ
4.ตัวเลขเป็นสัญลักษณ์ที่ใช้เขียนแสดงจำนวน
5.สัญลักษณ์พื้นฐานที่ใช้เขียนแสดงจำนวน  เรียกว่า เลขโดด ในระบบฐานสิบมี  10  ตัวดังนี้
       ตัวเลขฮินดูอารบิก  ได้แก่  0  1  2  3  4  5  6  7  8  9
       ตัวเลขไทย    ได้แก่  o  ๑  ๒  ๓  ๔  ๕  ๖  ๗  ๘  ๙
       อ่านว่า  หนึ่ง  สอง  สาม  สี่  ห้า  หก  เจ็ด  แปด  เก้า  สิบ  ตามลำดับ
6.จำนวนสองจำนวนเมื่อนำมาเปรียบเทียบกัน มีค่าเท่ากัน  มากกว่ากัน  น้อยกว่ากัน อย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียว
7.การเรียงลำดับจำนวน มากไปน้อย  หรือจากน้อยไปมาก
8.การบอกอันดับที่ของสิ่งต่างๆ
9.การบอกอันดับที่  ที่หนึ่ง  ที่สอง.....
10.การรวมตัวเป็นการนับรวมจำนวนต่างๆ สองกลุ่ม  ผลรวมมากขึ้น
11.การแยกเป็นการนำจำนวนสิ่งต่างๆ ออกจากกลุ่มใหญ่ บอกจำนวนที่เหลือ

👧 สาระที่ 2  การวัด

1.การวัดความยาว หาความยาวตามแนวนอน  การวัดความสูง  หาความสูงจากแนวตั้ง
2.การวัดความยาว  ความสูง ของสิ่งต่างๆ อาจใช้เครื่องมือวัดที่มีหน่วยไม่ใช่หน่วยมาตรฐาน
3.ยาวกว่า   สั้นกว่า  เตี้ยว่า ยาวเท่ากัน  สูงเท่ากัน  เป็นคำที่ใช้ในการเปรียบเทียบความยาว  ความสูง
4.การเรียงลำดับความยาว  ความสูง อาจเรียงจากน้อยไปหามากหรือมากไปน้อย
5.การชั่งน้ำหนักของสิ่งต่างๆ อาจใช้เครื่องมือวัดชั่งน้ำหนักที่มีหน่วยไม่ใช่หน่วยมาตรฐาน
6.หนักกว่า  เบากว่า  หนักเท่ากัน  เป็นคำที่ใช้ในการเปรียบเทียบน้ำหนักของสิ่งต่างๆ
7.การเรียงลำดับน้ำหนักของสิ่งต่างๆ อาจเรียงจากน้อยไปหามากหรือมากไปน้อย
8.การตวงของสิ่งต่างๆ อาจใช้เครื่องมือตวงที่มีหน่วยไม่ใช่หน่วยมาตรฐาน
9.ปริมาตรมากกว่า  ปริมาตรน้อยกว่า  ปริมาตรเท่ากัน  เป็นคำที่ใช้ในการเปรียบเทียบปริมาตรของสิ่งต่างๆ
10.การเรียงลำดับปริมาตรของสิ่งต่างๆ อาจเรียงจากน้อยไปหามากหรือมากไปน้อย
11.เงินเหรียญและธนบัตร  ใช้ในการซื้อขาย
12.ตัวเลขที่ด้านหลังเงินเหรียญ   บอกค่าเงินเหรียญของแต่ละเหรียญ
13.ตัวเลขที่อยู่บนธนบัตร   บอกค่าธนบัตรของแต่ละฉบับ
14.บาท  เป็นหน่วยของเงินไทย
15.เวลาแต่ละวันแบ่งเป็น 2 ช่วงใหญ่ๆ  คือ กลางวันและกลางคืน
16.เช้า   เที่ยง  เย็น  เมื่อวาน  เป็นคำที่ใช้บอกช่วงเวลาต่างๆ
17.1  สัปดาห์  มี 7  วัน

👧สาระที่ 3  เรขาคณิต

1.ข้างบน  ข้างล่าง  ข้างใน  ข้างนอก  ข้างหลัง  ระหว่าง  ข้างซ้าย  ข้างขวา  ใกล้  ไกล  เป็นคำใช้บอกตำแหน่ง  ทิศทาง  ระยะทาง
2.การจำแนกทรงกลม  ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก กรวย  ทรงกระบอก  และรูปวงกลม  รูปสามเหลี่ยม  รูปสี่เหลี่ยม  ใช้วิธีพิจารณารูปร่างและของของรูป

👧สาระที่ 4  พีชคณิต

แบบรูปเป็นความสัมพันธ์ที่แสดงลักษณะสำคัญร่วมของชุด ของจำนวนรูปเรขาคณิต

👧สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น

1.การเก็บรวบรวมข้อมูลอาจใช้วิธีการสังเกตหรือสอบถามก็ได้
2.แผนภูมิรูปภาพเป็นการนำเสนอข้อมูลอย่างง่าย โดยใช้รูปภาพแสดงจำนวนของสิ่งต่างๆอาจวางรูปตามแนวนอนหรือแนวตั้งก็ได้

👧สาระที่ 6  ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

    ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ได้แก่  การแก้ปัญหา  การให้เหตุผล   การสื่อสาร   การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่างๆทางคณิตศาสตร์  และการเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

      อาจารย์ได้พูดถึงเกณฑ์ในการหาเนื้อหาให้เด็ก  หามาจาก หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย มีทั้งหมด  4  หัวข้อ

1.เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก
2.เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่
3.ธรรมชาติรอบตัว
4.สิ่งรอบตัวต่างๆ

      การเลือกหัวข้อ  4  หัวข้อใหญ่ออกแบบการจักประสบการณ์  ควรเลือก.... เป็นหลักการออกแบบชื่อเรื่อง

1.เป็นเรื่องที่ใกล้ตัวเด็ก
2.เป็นเรื่องที่สัมพันธ์กับชีวิตประจำวัน
3.เรื่องนั้นอาจจะมีผลกระทบ  เช่น  หมอกควัน   ฝุ่น

ดูเพิ่มเติมได้ที่  👉  หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย 2560

      เนื้อหาสาระควรสอดคล้องกับพัฒนาการของเด็ก ออกแบบกิจกรรม  การจัดประสบการณ์  สอดคล้องกับการให้เด็กลงมือกระทำ  วิธีการเล่น  เป็นวิธีการที่ทำให้  เกิดการเรียนรู้  👉  การเล่นลงมือกระทำต่อวัตถุด้วยประสาทสัมผัสทั้ง  5  เลือกและตัดสินใจด้วยตนเองอย่างมีความสุข
💚การเล่น  ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง  5เป็นเครื่องมือ   สอดคล้องกับการทำงานของสมอง
💚การคิดสำคัญกับคนในศตวรรษที่  21  การคิดวิเคราะห์ การสังเคราะห์   
💚ช่วงแรกเกิด - 6ปี  สมองเจริญเติบโตมากที่สุดเต็มที่ 80%

😍กิจกรรมที่  1    Mapping  สาระสำคัญทางคณิตศาสตร์

    อาจารย์ได้เก็บรวบรวมชิ้นงาน   Mapping  เรื่อง สาระสำคัญทางคณิตศาสตร์  เพื่อจะนำไปตรวจดูว่าควรแก้ไข ปรับปรุงอย่างไรของแต่ละคน  


👾วิธีการเขียน  Mapping  อย่างถูกต้อง  

1.การเขียนเริ่มจากข้อที่  1  ควรทำจากขวามือของเราแล้วเขียนวนทวนเข็มนาฬิกาไปเรื่อยๆ
2.ควรจัดให้เกิดความสมดุล
3.ตัวหนังสือต้องไปทางเดียวกัน
4.ควรแตกเส้นสั้นๆ  เพื่อทำให้มีที่ว่างที่จะเพิ่มเติ่มเนื้อหาส่วนต่อไปได้

    หลังจากนั้นอาจารย์ได้ให้กระดาษ  A4 มาทำ Mapping  เรื่อง  ไก่  🐓🐓🐓🐓🐓🐓

ขั้นตอนการทำ

1.ให้วางกระดาษ A4 ตามแนวนอน



2.ควรคิดหัวข้อใหญ่ขึ้นมา  
   2.1ไก่มีชื่อเรียกหลายชื่อแตกต่างกัน   สายพันธ์ุ
   2.2ลักษณะ  ประกอบด้วย 
              🐤สี       👉    (  ดำ , ขาว ,แดง  )   
              🐤เพศ   👉    ( เพศผู้  ,  เพศเมีย ) 
              🐤ขนาด   👉    ( ใหญ่  , กลาง ,  เล็ก )
              🐤ส่วนประกอบ   👉  ( หงอน , ขา , ตา  , ขน  )
              🐤พื้นผิว   👉   (  ลื่น ,นุ่ม  )
              🐤กลิ่น     👉    (สาบ ,  เหม็น  )
    2.3การดำรงชีวิต  👉    (  น้ำ , อากาศ , ที่อยู่อาศัย , เจริญเติบโต , อาหาร  )
    2.4ประโยชน์   👉  (  ประกอบอาหาร,  อาชีพสร้างรายได้,  เลี้ยงดูไว้เพื่อความสวยงาม , เกิดความสดุลทางธรรมชาติ )


   


      หลังจากนั้นอาจารย์ให้ทำเพื่อดูความเข้าใจของตนเอง และให้ส่งเพื่อดูความถูกต้องของแต่ละคนควรแก้ไข  ปรับปรุง  อย่างไร  




😍กิจกรรมที่  2  วิธีการจัดประสบการณ์ให้กับเด็กปฐมวัย

   อาจารย์ได้นำเรื่องไก่ที่ทำ Mapping มาเชื่อมโยงกับสาระสำคัญทางคณิตศาสตร์  เพื่อจะทำให้เข้าใจง่ายในเรื่องการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ให้กับเด็ก

ตัวอย่าง  เรื่องไก่   (  สาระสำคัญทางคณิตศาสตร์  )

   สาระที่  1  จำนวนและการดำเนินการ
💙จำนวนนับใช้บอกจำนวนของสิ่งของ  👉 การนบสานพันธุ์ของไก่  เช่นนับจนถึงตัวสุดท้าย นำตัวเลขจำนวนมาใส่
💙หาเกณฑ์ที่เลี้ยงดูเล่น  แยกเป็น  2 กลุ่ม
💙แยกไก่เลี้ยงเอาไว้เล่นและไก่ไม่ได้เลี้ยงเอาไว้เล่นแยกออกมา 
💙ไก่ทั้งหมดมีกี่ตัวมานับรวมกัน

   สาระที่ 2 การวัด
💙วัดความสูงของไก่
💙เรียงลำดับนำมาเปรียบเทียบ
💙เงินเหรียญ   ธนบัตร  ใช้ในการซื้อขาย  อาหารไก่  ยารักษาไก่
💙กลางวัน  กลางคืน  เวลานอนของไก่

   สาระที่  3  เรขาคณิต
💙ทิศทาง  ในการแต่งนิทาน
💙จำแนกรูปทรง 👉 ตัวไก่ วงรี  คอไก่  รูปทรงกระบอก  ( เกมการศึกษา  จับคู่เงาของไก่) 

   สาระที่  4  พีชคณิต 
💙ความสัมพันธ์ของที่อยู่อาศัยกับอาหาร  เช่น  ไก่  เล้า   หนอน   ไก่   .....   หนอน  ควรเติมอะไร

   สาระที่ 5  การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
💙จำนวนของไก่แต่ละวัน  แม่ไก่ออกไข่แต่ละวันกี่ฟอง
💙นำเสนอเป็นกราฟ
      อาหาร .....   เด็กชอบมากที่สุด     .......น้อยที่สุด
      .......ชอบมากกว่า..........แต่น้อยกว่า.........

    สาระที่ 6  ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
💙ขั้นอนุรักษ์  เด็กสามารถใช้เหตุผลไม่ต้องเห็นของจริงสามารถเชื่อมโยงได้

👧กิจกรรมที่ 3  จดหมายแผ่นพับ  รายงานผู้ปกครอง

   การสอนในแต่ละครั้งในแต่ละสัปดาห์  ต้องมีเครื่องมือความรู้ให้ผู้ปกครองช่วยให้เด็กได้เรียนรู้คณิตศาสตร์ตาม หน่วย  ...... ได้ง่าย  ดิฉันได้ทำในหน่วย  สับปะรด

ขั้นตอนวิธีการทำ

1.นำกระดาษ  -ขนาด A4   กระดาษสี พับเป็น  3 ส่วน



 

2.แบ่งหัวข้อในแต่ละหน้า
   💛หน้าปก  👉 มีตราโรงเรียนโลโก้  , ชื่อหน่วย , เด็กชื่อ .....   นามสกุล.....   ชั้น ......  , ครูประจำชั้นชื่อ......  นามสกุล........



    💛หน้าที่สามารถเปิดดูเนื้อหา 
หน้าที่ 1  💚 เรียนท่ายผู้ปกครอง   สัปดาห์นี้จัดเป็นหน่วย..... ซึ่ง......  ( ข้อมูลในหน่วย....คือ .......เพื่อให้ผู้ปกครองได้รับรู้  เรื่อง ..... )
หน้าที่ 2  💚 สาระน่ารู้เกี่ยวกับเรื่อที่ทำให้กับผู้ปกครองได้อ่าน
หน้าที่ 3  💚 สิ่งที่ให้ผู้ปกครองคุยกับลูก  เช่น สนทนากับลูกว่า .....  หรือให้ลูกวาดรูปที่เด็กรู้จัก  



   💛 หน้าที่พับปิดอยู่ข้างหลัง เช่น เชื่อมโยงจับคู่  ทำการโยง คำถามสั้นๆ   นิทานสั้นๆ



   💛หน้าสุดท้าย  ไม่ต้องเขียน




     อาจารย์ให้ทำแล้วถ่ายรูปลง BLOGGER  เป็นการให้ผู้ปกครองสนับสนุนเพื่อการเรียนรู้คณิตศาสตร์ มีวิธีการเลือกควรส่งเสริมอย่างไร และอาจารย์ได้กำหนดส่ง BLOGGER วันอาทิตย์ที่  12  ไม่เกินเที่ยง

     หลังจากนั้นอาจารย์ได้ปิดคอร์สการเรียนการสอนให้ทุกคนร่วมกันถ่ายรูป





😃บรรยากาศในห้องเรียน😄














               💦คำศัพท์💦
1.Essence                                           สาระสำคัญ
2.Person                                             บุคคล
3.Environment                                   สิ่งแวดล้อม
4.Nature                                             ธรรมชาติ
5.Effect                                              ผลกระทบ
6.Relationship                                   ความสัมพันธ์
7.Living                                            การดำรงชีวิต
8.ฺBalance                                          ความสมดุล
9.Quality                                           คุณภาพ
10.Difference                                    ความแตกต่าง



การประเมิน

ประเมินตนเอง  💕  วันนี้ได้รับความรู้และเข้าใจมากขึ้น ได้แสดงความคิดเห็นมีการโต้ตอบแลกเปลี่ยนความรู้กัน  เข้าใจในเรื่องคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยในการนำไปจัดประสบการณ์

ประเมินเพื่อนร่วมห้อง  💕เพื่อนๆ ตั้งใจเรียน  ทำงานที่อจารย์ได้มอบหมายและช่วยกันโต้ตอบอาจารย์ได้ดีมาก

ประเมินอาจารย์  💕 อาจารย์อธิบายเนื้อหาได้อย่างละเอียดของแต่ละสาระสำคัญทางคณิตศาสตร์และเน้นย้ำในสื่งที่ควรจำและสามารถนำความรู้ที่ได้รับนำไปปรับใช้ได้จริง



บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 💗 12

วันศุกร์   ที่ 19  เมษายน  พ.ศ.  2562




ความรู้ที่ได้รับ
    
      ในการเรียนการสอนสำหรับวันนี้อาจารย์ให้ทั้ง 2 เซคมาเรียนรวมกัน  ซึ่งอาจารย์ได้พูดถึงเรื่องการมาอบรมเกี่ยวกับเรื่องการคิดและแก้ปัญหาในชั้นเรียน จะมีความเกี่ยวข้องกับทุกคนที่จะได้รับความรู้ ในวันที่ 26  และ  27 เมษายน  พ.ศ.  2562

👯กิจกรรมที่ 1  Mapping  คู่มือกรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย

     อาจารย์ได้มอบหมายงานให้ทุกคนทำ   Mapping   คู่มือกรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย โดยสามารถค้นคว้าหาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตได้เต็มที่ ซึ่งออกมาในรูปแบบที่สรุปให้เราเข้าใจให้มากที่สุดและควรครบทุกข้อ  เราสามารถออกแบบ Mapping  ได้ตามที่ตนเองต้องการ สามารถใช้กระดาษกี่แผ่นก็ได้ ทำเสร็จแล้วส่งอาจารย์ดูก่อนว่าต้องแก้ไข  เพิ่มเติมตรงไหนบ้าง

💛ขั้นตอนการทำ💛

ขั้นตอนที่ 1  อ่านทำความเข้าใจ คู่มือกรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย

ขั้นตอนที่ 2  ออกแบบ Mapping ของตนเองโดยใส่ข้อมูลลงไปให้ดูอ่านง่ายขึ้น


ขั้นตอนที่ 3  ต้องทำให้ครบทุกหัวข้อและตรงประเด็น


ดูเพิ่มเติมได้ที่  👉  คู่มือกรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย

     อาจารย์ย้ำเสมอว่าให้อ่านคู่มือกรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์เด็กปฐมวัยต้องทำความเข้าใจซึ่งจะออกข้อสอบปลายภาค ทุกคนต้องทำ Mapping  สรุปเพื่ออ่าน  อาจารย์ให้เวลาในการทำเป็นเวลานาน เพราะต้องทำความเข้าใจให้ชัดเจน

     หลังจากนั้นอาจารย์ให้ส่งในส่วนคนที่เสร็จก่อนก็ให้ส่งก่อนเพื่อตรวจว่าต้องแก้ไขตรงไหนบ้างให้สมบูรณ์มากขึ้น  ท้ายคาบเรียนทุกคนก็ส่งและอาจารย์ได้พูดทบทวนเนื้อหาการนำไปใช้








Mapping  คู่มือกรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย

สรุปคู่มือกรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย

💗ความสำคัญของคณิตศาสตร์

       มีความสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาความคิด  ทำให้มนุษย์มีความคิดอย่างมีเหตุผลเป็นระบบ  มีแบบแผน ตลอดจนการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และสามรถวิเคราะห์ปัญหา เด็กมีความอยากรู้อยากเห็น ช่างสังเกต  คณิตศาสตร์สามารถพัฒนาเสริมสร้างให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจธรรมชาติ และสิ่งต่างๆรอบตัว การที่เด็กมีความรู้ความเข้าใจ มีทักษะกระบวนการทางคณติศาสตร์และมีเจตคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์ไม่เพียงส่งผลให้เด็กประสบความสำเร็จในการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์เท่านั้น


💗เด็กปฐมวัยเรียนรู้อะไรในคณิตศาสตร์

💧จำนวนและการดำเนินการ  👉  จำนวน การรวมกลุ่ม และการแยกกลุ่ม 
💧การวัด  👉  ความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และเวลา
💧เรขาคณิต  👉  ตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง รูปเรขาคณิตสามมิติและรูปเรขาคณิตสองมิติ
💧พีชคณิต  👉  แบบรูปและความสัมพันธ์
💧การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น  👉  การเก็บรวบรวมข้อมูลและการนำเสนอ 
💧ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์  👉  การแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์และการนำเสนอ  การเชื่อมโยงความรู้ต่างๆ  มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

💗สาระและมาตรฐานการเรียนรู้

สาระที่ 1 : จำนวนและการดำเนินการ
มาตรฐาน ค.ป. 1.1 : เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวน และการใช้จำนวนในชีวิตจริง 

สาระที่ 2 : การวัด
มาตรฐาน ค.ป. 2.1 : เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และเวลา

สาระที่ 3 : เรขาคณิต
มาตรฐาน ค.ป. 3.1 : รู้จักใช้คำในการบอกตำแหน่ง ทิศทาง และ ระยะทาง
มาตรฐาน ค.ป. 3.2 : รู้จักจำแนกรูปเรขาคณิต และเข้าใจการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตที่เกิดจากการจัดกระทำ 

สาระที่ 4 : พีชคณิต
มาตรฐาน ค.ป 4.1 : เข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์

สาระที่ 5 :  การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
มาตรฐาน ค.ป. 5.1 : รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อม และนำเสนอ


สาระที่ 6 : ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

💗คุณภาพของเด็กเมื่อจบการศึกษาปฐมวัย

💧มีความคิดเชิงคณิตศาสตร์ ( Mathematical Thinking ) 
💧มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และเวลา 
💧มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานทางเรขาคณิต 
💧มีความรู้ความเข้าใจแบบรูปทีี่มีรูปร่าง ขนาด สี ที่สัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง 
💧มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลและการนำเสนอข้อมูลในรูปแผนภูมิอย่างง่าย 
💧มีทักษะและกระบวนการทางคณิตที่จำเป็น

💗การจัดประสบการณ์การเรียนรู้

      การจัดประสบการณ์การเรียนรู้คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยอายุ 3-5 ปีควรจัดรูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ แบบบูรณาการผ่านการเล่นเพื่อให้เด็กเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงเกิดความรู้สึก  เข้าใจมีทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์และมีเจตคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์ครูผู้สอนหรือผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบเลี้ยงดูและพัฒนาเด็กโดยคำนึงถึงความเหมาะสมและความสอดคล้องกับวุฒิภาวะของเด็ก ๆ สามารถดำเนินการตามแนวทางและแนวทางการจัดประสบการณ์การเรียนรู้

1.สร้างเสริมความสนใจในการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามธรรมชาติของเด็ก
2.สร้างประสบการณ์และความรู้ความเข้าใจทางคณิตศาสตร์ โดยเชื่อมโยงจากพื้นฐานทางครอบครัว ภาษา  วัฒนธรรมและชุมชน
3.หลักสูตรและการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ต้องให้ความสำคัญกับการส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน
4.หลักสูตรและการจัดประสบการณ์เน้นกระบวนแก้ปัญหาและการให้เหตุผล
5.หลักสูตรและการจัดประสบการณ์ต้องเชื่อมโยงความสัมพันธ์และสร้างความรู้ความเข้าใจอย่างเป็นลำดับขั้นตอน

💗การวัดและประเมินผล

     การวัดและประเมินผลการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยอายุ 3 ถึง 5 ปีเพื่อพัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กเป็นรายบุคคล  ผลเป็นกระบวนการต่อเนื่องและเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมปกติที่จัดขึ้นให้เด็กในแต่ละวันผลการประเมินจะเป็นข้อมูลที่ช่วยให้ครูผู้สอนหรือผู้ที่มีหน้ารับผิดชอบอบรมเลี้ยงดูและพัฒนาเด็กนำไปวางแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กแต่ละคนให้ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาตามมาตรฐานการเรียนรู้มากกว่าการตัดสินว่าผ่านหรือพร้อม

1.การวัดและประเมินผลต้องกระทำอย่างต่อเนื่องและควบคู่ไปกับกระบวนการเรียนการสอน

2.การวัดและประเมินผลสอดคล้องกับจุดประสงค์และตัวชี้วัด

3.การวัดและประเมินผลทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

4.การวัดและประเมินผลต้องนำไปสู่ข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับตัวเด็กรอบด้าน

5.การวัดและประเมินผลต้องเป็นกระบวนการส่งเสริมให้เด็กมีความกระตือรือร้นในการปรับปรุงและพัฒนา

      สำหรับการเรียนรู้ในครั้งนี้ทำให้ตนเองได้เข้าในกรอบมาตรฐานการเรียนรู้มากขึ้นและได้นำไปใช้ได้จริงในเรื่องของการทำสื่อและจัดประสบการณ์ให้กับได้ได้อย่างประสิทธิภาพ




👾บรรยากาศในห้องเรียน👾



















                        😊คำศัพท์😊

1.Culture                                           วัฒนธรรม
2.Position                                          ตำแหน่ง
3.Connection                                     การเชื่อมโยง
4.Operation                                       การดำเนินการ
5.Attitude                                          เจตคติ
6.Algebra                                          พีชคณิต
7.Geometry                                       เรขาคณิต
8.Quality of  children                        คุณภาพของเด็ก
9.Learning  standards                        มาตรฐานการเรียนรู้
10.Evaluation                                    การประเมินผล


การประเมิน

ประเมินตนเอง 💚 วันนี้ได้ความรู้เกี่ยวกับคู่มือกรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์เด็กปฐมวัยอย่างชัดเจนเข้าใจมากชึ้นและรู้จักการวางแผนของการทำ Mapping  ให้มีองค์ประกอบที่ครบตรงประเด็นได้ชัดเจน

ประเมินเพื่อนร่วมห้อง 💚 ในวันนี้ได้เรียนพร้อมกันทั้ง  2 เซค ทำให้สนิทกันมากขึ้นมีการปรึกษา แลกเปลี่ยนความรู้กัน แต่ละคนตั้งใจทำของตนเองให้ดีที่สุด

ประเมินอาจารย์  💚 อาจารย์สามารถทำให้นักศึกษาเข้าใจคู่มือกรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์เด็กปฐมวัยได้โดยให้ทำในรูปแบบ  Mapping



บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 💗 11

วันศุกร์   ที่ 5   เมษายน    พ.ศ. 2562


ความรู้ที่ได้รับ

         วันนี้อาจารย์ได้พูดถึงอุปกรณ์ที่ทำสื่อบางกลุ่มได้ยืมอาจารย์ไปทำซึ่งอาจารย์ได้ถามว่าใครนำคืนหรือยังไม่นำมาคืนเพื่อตรวจความเรียบร้อย  และอาจารย์ได้ถามว่าใครกลับบ้านในช่วงวันสงกรานต์บ้าง มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษมได้ปิดการเรียนการสอนในช่วงนี้  ในสัปดาห์ถัดไปตรงกับการเรียนรายวิชานี้แต่จะไม่มีการเรียนการสอน  เพื่อนๆส่วนมากจะกลับบ้านต่างจังหวัดกันเยอะมาก จะต้องมาเรียนวิชานี้ในวันที่ 19  เมษายน  พ.ศ. 2562 อาจานย์จะสรุปและเคลียร์เรื่องงานทุกชิ้น 

       สำหรับวันนี้อาจารย์จะตรวจ BLOGGER  ของแต่ละคน ควรแก้ไขตรงไหนบ้าง ทั้งงานวิจัย  บทความ  ตัวอย่างการสอน  สื่อคณิตศาตร์ ควรมีลิงก์ ต้องมีการสรุปในกล่อง  BLOGGER  แยกออกจากการบันทึกเป็นรายวันที่มีเรียน  อาจารย์จะให้ทุกคนกลับไปเคลียร์   BLOGGER  ของตนเอง  ในเนื้อหาควรจะมี การทำงานของสมอง มีการอธิบายตามที่เราเข้าใจ  การเล่น เครื่องมือคืออะไร การเล่นมีความหมายเหมือนกับอะไร  ควรอ่านคู่มือมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์   ในวันที่  19  เมษายน  พ.ศ. 2562  จะมีการเก็บคะแนนในบางส่วน

ควรอ่านทำความเข้าใจ  👇

   -------- 👉  😃     กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับการศึกษา   😃

     หลังจากนั้นอาจารย์ได้คุยเรื่องงานทุกอย่างเสร็จ อาจารย์ได้อวยพรให้ทุกคนที่กลับบ้านเดินทางปลอดภัย  ระมัดระวังตนเอง  😃😃😃😃





บรรยากาศในห้องเรียน








                   😄คำศัพท์😃

1. Songkran  Day            วันสงกรานต์
2. Modify                   แก้ไข
3. The article              บทความ
4. Research                 งานวิจัย
5. Teaching  examples       ตัวอย่างการสอน
6. Content                  เนื้อหา
7. Score                    คะแนน
8. Careful                  ระมัดระวัง
9. Travel                   เดินทาง
10. Understanding           ความเข้าใจ



   การประเมิน

ประเมินตนเอง  😃 วันนี้ได้รู้รายละเอียดของ  BLOGGER ควรกลับไปเพิ่มเติมสิ่งที่อาจารย์ได้พูด

ประเมินเพื่อนร่วมห้อง 😃 เพื่อนๆให้ความร่วมมือในการตั้งใจฟังดีมาก มีการพูดคุยตกลงกันเรื่องงาน การกลับบ้านแล้วกลับมาเรียน

ประเมินอาจารย์   😃 อาจารย์ได้พูดถึงรายละเอียดของ  BLOGGER ให้นักศึกษาเข้าใจมากขึ้น นำกลับไปแก้ไขและได้อวยพรการเดินทางกลับบ้านช่วงสงกรานต์







บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 💗 10

วันศุกร์ ที่  22  มีนาคม   พ.ศ. 2562




ความรู้ที่ได้รับ

      ในการเรียนการสอนสำหรับวันนี้อาจารย์ได้ให้ทั้ง 2 เซค มาส่งสื่อการเรียนรู้คณิตศาสตร์ครั้งที่ 1 ของแต่ละกลุ่ม ซึ่งอาจารย์ได้บอกว่าต้องไปแก้ไขตรงไหนอย่างไร เพราะบางกลุ่มทำมาไม่ครบตรงกับเรื่องที่ตนเองได้รับมอบหมายให้ไปทำ เพื่อนๆบางกลุ่มไม่โดนแก้ทำมาเรียบร้อยสามารถส่งได้เลย แต่สิ่งที่ทุกกลุ่มต้องมีคือ กล่องใส่สื่อสามารถเก็บได้อย่างเรียบร้อย นำมาจากสิ่งของเหลือใช้

     สื่อแต่ละชิ้นที่อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มทำจะเกี่ยวข้องกับกรอบมาตรฐานทางคณิตศาสตร์ อาจารย์ได้ย้ำเสมอว่าแต่ละสื่อจะมีความเกี่ยวข้องกับเรื่องอะไร นักศึกษาสามารถตอบได้


กรอบมาตรฐานการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ปฐมวัย




เด็กปฐมวัยควรเรียนรู้ในคณิตศาสตร์

💗จำนวนและการดำเนินการ  👉  จำนวน การรวมกลุ่ม และการแยกกลุ่ม 

💗การวัด  👉  ความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และเวลา

💗เรขาคณิต  👉  ตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง รูปเรขาคณิตสามมิติและรูปเรขาคณิตสองมิติ

💗พีชคณิต  👉  แบบรูปและความสัมพันธ์

💗การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น  👉  การเก็บรวบรวมข้อมูลและการนำเสนอ 

💗ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์  👉  การแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์และการนำเสนอ  การเชื่อมโยงความรู้ต่างๆ  มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

         เพื่อนๆ แต่ละกลุ่มได้ออกมานำเสนอของกลุ่มตนเอน


💜กลุ่มที่ 1💜 

บิงโกจำนวน
👇
สาระที่ 1   จำนวนและการดำเนินการ


สมาชิกในกลุ่ม
 นางสาวดาวจุฬา    สินตุ้น
    นางสาวนภัสสร     ก้านอินทร์
   นางสาวกนกอร     เกาะสังข์

😊😊😊😊😊😊😊😃😃😃😃😃😃😃😃

💜กลุ่มที่ 2💜

ตาชั่ง 2 แขน
👇
สาระที่ 2 การวัด


สมาชิกในกลุ่ม
       นายนภสินธุ์              พุ่มพุฒ
   นางสาวพรรณทิภา    มามุ้ย
          นาวสาวชนน์นิภา       อินทจันทร์

😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃

💜กลุ่มที่ 3💜 

ความสัมพันธ์ 2 แกน
👇
สาระที่ 4 พีชคณิต


สมาชิกในกลุ่ม
 นางสาวศรสวรรค์       เทพยศ
    นางสาวดวงกมล        สิทธิฤทธิ์
   นางสาวนันทกา   เนียมสูงเนิน

😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃

💜กลุ่มที่ 4💜

 จิ๊กซอว์ตัวเลข 0- 9
👇
สาระที่ 1   จำนวนและการดำเนินการ


สมาชิกในกลุ่ม
     นางสาวกัลยากร    เกิดสมบูรณ์
   นางสาวเบญจวรรณ  ปานขาว
  นางสาวชฎาพร     คำผง

😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃

💜กลุ่มที่ 5💜 

คานดีดจากไม้ไอติม
👇
สาระที่ 3  เรขาคณิต


สมาชิกในกลุ่ม
   นางสาวปิยาภรณ์       วงป้อม
    นางสาวชลิตา         ภูผาแนบ
นางสาวชนิตา        โพธิ์ศรี

😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃

💜กลุ่มที่ 6💜 

ร้อยลูกปัดฝาขวด
👇
สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ


สมาชิกในกลุ่ม
   นางสาวสาธินี    จันทรามาศ
  นางสาวสุธิดา    ยศรุ่งเรือง
นางสาวศิริเมษา  ทักษิณ

😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃

💜กลุ่มที่ 7💜

 บวกเลขจากภาพ
👇
สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ


สมาชิกในกลุ่ม
นางสาวปทุมแก้ว      ขุนทอง
   นางสาวอรนภา         ขุนวงค์ษา
นางสาวอภิญญา       แก้วขาว

😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃

💜กลุ่มที่ 8💜

แผ่นกราฟเส้น
👇
สาระที่ 5  วิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น


สมาชิกในกลุ่ม
        นางสาวปุณยวีร์             ยานิตย์
      นางสาวธัญญลักษณ์     บุญเรียง
          นางสาวขวัญฤทัย          นีลวัณโณ

😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃

💜กลุ่มที่ 9💜
  
ไม้ไอติมสอนเลข
👇
สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ


สมาชิกในกลุ่ม
นางสาวเจนศินี       เต็มหวัง
นางสาวเจนจิรา      เต็มหวัง

😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😄😄😄😄😄😄😄

💜กลุ่มที่ 10💜 

แผ่นกราฟแท่ง
👇
สาระที่ 5  วิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น


สมาชิกในกลุ่ม
นางสาวอมรรัตน์     คงสวัสดิ์
นางสาวจิรกิตติ์       ถิ่นพันธ์
นางสาวชลิดา         ทารักษ์

😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃😃

            อาจารย์ได้สอนในเรื่องเกี่ยวกับการทำสื่อใช้อุปกรณ์อย่างประหยัดหรือนำของเหลือใช้มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงที่สุด ทำสื่อการใช้ความคิด เป็นงานปราณีต เราทำเพื่อไปสอนเด็กต้องมีที่มาที่ไปทำเพื่ออะไร  เด็กต้องได้อะไรจากสื่อ เราควรคำนึงให้มากที่สุด





บรรยากาศในห้องเรียน










                          💦คำศัพท์💦


1.Standard frame         กรอบมาตรฐาน
2.Beam                   คานดีด
3.Number                 ตัวเลข
4.Relationship           ความสัมพันธ์
5.Scales                 ตาชั่ง
6.Bead                   ลูกปัด
7.Line graph             กราฟเส้น
8.Save                   ประหยัด
9.Measurement            การวัด
10.Direction             ทิศทาง


การประเมิน

ประเมินตนเอง 👉 วันนี้เพื่อนๆได้นำสื่อที่ทำร่วมกันในกลุ่มของตนเองมาส่งทำให้เห็นถึงการใส่ใจของการทำสื่อ  เพื่อนๆบางกลุ่มได้แก้หรือเพิ่มเติมสิ่งที่ขาดหายซึ่งเพื่อนๆได้รับฟังอาจารย์อย่างตั้งใจ

ประเมินเพื่อนร่วมห้อง  👉 วันนี้ได้นำสื่อแผ่นกราฟแท่งมาส่งอาจารย์ได้รับฟังเรื่องของสื่อที่ตนเองนำมาส่งมีการแก้ไขและเพิ่มเติม สามารถนำไปปรับปรุงให้ดีขึ้น

ประเมินอาจารย์  👉 อาจารย์ได้ดูรายละเอียดของสื่อที่แต่ละกลุ่มได้นำมาส่งซื่งเป็นสิ่งที่ดีมาก บอกทุกจุดที่ต้องปรับปรุง อธิบายได้อย่างชัดเจนมากขึ้น