วันเสาร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 💗 13

วันศุกร์ ที่ 3 พฤษภาคม  พ.ศ.2562




ความรู้ที่ได้รับ

       ในการเรียนการสอนสำหรับวันนี้อาจารย์ได้พูดถึงสาระสำคัญทางคณิตศาสตร์ ทั้งหมดมี  6 สาระ  เป็นมาตรฐานในเชิงนามธรรม เพราะมันเป็นสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์   กระบวนทางคณิตศาสตร์  เช่น  3+2  ,   5-6  สาระที่ 1-5  เกี่ยวข้องคณิตศาสตร์ พยายามให้ออกมาเป็นรูปธรรมให้เด็กได้ลงมือกระทำกับวัตถุด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 ต้องทำบ่อยๆจับต้องได้สอดคล้องกับการทำงานของสมอง

ข้อมูลน่ารู้❕❕

🌸สมอง  ทำหน้าที่  ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5  เป็นเครื่องมือที่จะเก็บข้อมูลส่งไปที่สมอง

สมอง  👉  ซึมซับ  /  รับรู้

🌸การกินอาหารดี ทำให้สมองเร็วสามารถปรับโครงสร้างเป็นความรู้ใหม่  สอดคล้องกับความรู้เดิม  Assimilation  ปรับโครงสร้างความรู้ใหม่  Accommodation

🌸ถ้าเราไม่นำไปใช้  เป็นการรับรู้
🌸ถ้าดึงออกมาใช้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม  เป็นการเรียนรู้  เพื่อความอยู่รอด
                             
                                                                      👱วิดีโอน่ารู้


ดูเพิ่มเติมได้ที่  👉 https://www.youtube.com/watch?v=vDXHTDAzQ5w


อาจารย์ให้ส่ง Mapping  สาระสำคัญทางคณิตศาสตร์ ที่ได้มอบหมายงานให้นักศึกษา




😊สาระสำคัญทางคณิตศาสตร์😊

เป็นหลักการที่ต้องการปลูกฝังให้แก่เด็ก ผู้สอนควรศึกษาสาระสำคัญทางคณิตศาสตร์ในกรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย  มีดังนี้

 👧 สาระที่ 1  จำนวนและดารดำเนินการ

1.จำนวนนับใช้บอกจำนวนของสิ่งต่างๆ
2.จำนวนนับ หนึ่ง  สอง  สาม   สี่   ห้า... เป็นจำนวนนับที่นับเพิ่มขึ้นทีละหนึ่งตามลำดับ
3.ศูนย์ไม่ใช่จำนวนนับ
4.ตัวเลขเป็นสัญลักษณ์ที่ใช้เขียนแสดงจำนวน
5.สัญลักษณ์พื้นฐานที่ใช้เขียนแสดงจำนวน  เรียกว่า เลขโดด ในระบบฐานสิบมี  10  ตัวดังนี้
       ตัวเลขฮินดูอารบิก  ได้แก่  0  1  2  3  4  5  6  7  8  9
       ตัวเลขไทย    ได้แก่  o  ๑  ๒  ๓  ๔  ๕  ๖  ๗  ๘  ๙
       อ่านว่า  หนึ่ง  สอง  สาม  สี่  ห้า  หก  เจ็ด  แปด  เก้า  สิบ  ตามลำดับ
6.จำนวนสองจำนวนเมื่อนำมาเปรียบเทียบกัน มีค่าเท่ากัน  มากกว่ากัน  น้อยกว่ากัน อย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียว
7.การเรียงลำดับจำนวน มากไปน้อย  หรือจากน้อยไปมาก
8.การบอกอันดับที่ของสิ่งต่างๆ
9.การบอกอันดับที่  ที่หนึ่ง  ที่สอง.....
10.การรวมตัวเป็นการนับรวมจำนวนต่างๆ สองกลุ่ม  ผลรวมมากขึ้น
11.การแยกเป็นการนำจำนวนสิ่งต่างๆ ออกจากกลุ่มใหญ่ บอกจำนวนที่เหลือ

👧 สาระที่ 2  การวัด

1.การวัดความยาว หาความยาวตามแนวนอน  การวัดความสูง  หาความสูงจากแนวตั้ง
2.การวัดความยาว  ความสูง ของสิ่งต่างๆ อาจใช้เครื่องมือวัดที่มีหน่วยไม่ใช่หน่วยมาตรฐาน
3.ยาวกว่า   สั้นกว่า  เตี้ยว่า ยาวเท่ากัน  สูงเท่ากัน  เป็นคำที่ใช้ในการเปรียบเทียบความยาว  ความสูง
4.การเรียงลำดับความยาว  ความสูง อาจเรียงจากน้อยไปหามากหรือมากไปน้อย
5.การชั่งน้ำหนักของสิ่งต่างๆ อาจใช้เครื่องมือวัดชั่งน้ำหนักที่มีหน่วยไม่ใช่หน่วยมาตรฐาน
6.หนักกว่า  เบากว่า  หนักเท่ากัน  เป็นคำที่ใช้ในการเปรียบเทียบน้ำหนักของสิ่งต่างๆ
7.การเรียงลำดับน้ำหนักของสิ่งต่างๆ อาจเรียงจากน้อยไปหามากหรือมากไปน้อย
8.การตวงของสิ่งต่างๆ อาจใช้เครื่องมือตวงที่มีหน่วยไม่ใช่หน่วยมาตรฐาน
9.ปริมาตรมากกว่า  ปริมาตรน้อยกว่า  ปริมาตรเท่ากัน  เป็นคำที่ใช้ในการเปรียบเทียบปริมาตรของสิ่งต่างๆ
10.การเรียงลำดับปริมาตรของสิ่งต่างๆ อาจเรียงจากน้อยไปหามากหรือมากไปน้อย
11.เงินเหรียญและธนบัตร  ใช้ในการซื้อขาย
12.ตัวเลขที่ด้านหลังเงินเหรียญ   บอกค่าเงินเหรียญของแต่ละเหรียญ
13.ตัวเลขที่อยู่บนธนบัตร   บอกค่าธนบัตรของแต่ละฉบับ
14.บาท  เป็นหน่วยของเงินไทย
15.เวลาแต่ละวันแบ่งเป็น 2 ช่วงใหญ่ๆ  คือ กลางวันและกลางคืน
16.เช้า   เที่ยง  เย็น  เมื่อวาน  เป็นคำที่ใช้บอกช่วงเวลาต่างๆ
17.1  สัปดาห์  มี 7  วัน

👧สาระที่ 3  เรขาคณิต

1.ข้างบน  ข้างล่าง  ข้างใน  ข้างนอก  ข้างหลัง  ระหว่าง  ข้างซ้าย  ข้างขวา  ใกล้  ไกล  เป็นคำใช้บอกตำแหน่ง  ทิศทาง  ระยะทาง
2.การจำแนกทรงกลม  ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก กรวย  ทรงกระบอก  และรูปวงกลม  รูปสามเหลี่ยม  รูปสี่เหลี่ยม  ใช้วิธีพิจารณารูปร่างและของของรูป

👧สาระที่ 4  พีชคณิต

แบบรูปเป็นความสัมพันธ์ที่แสดงลักษณะสำคัญร่วมของชุด ของจำนวนรูปเรขาคณิต

👧สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น

1.การเก็บรวบรวมข้อมูลอาจใช้วิธีการสังเกตหรือสอบถามก็ได้
2.แผนภูมิรูปภาพเป็นการนำเสนอข้อมูลอย่างง่าย โดยใช้รูปภาพแสดงจำนวนของสิ่งต่างๆอาจวางรูปตามแนวนอนหรือแนวตั้งก็ได้

👧สาระที่ 6  ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

    ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ได้แก่  การแก้ปัญหา  การให้เหตุผล   การสื่อสาร   การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่างๆทางคณิตศาสตร์  และการเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

      อาจารย์ได้พูดถึงเกณฑ์ในการหาเนื้อหาให้เด็ก  หามาจาก หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย มีทั้งหมด  4  หัวข้อ

1.เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก
2.เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่
3.ธรรมชาติรอบตัว
4.สิ่งรอบตัวต่างๆ

      การเลือกหัวข้อ  4  หัวข้อใหญ่ออกแบบการจักประสบการณ์  ควรเลือก.... เป็นหลักการออกแบบชื่อเรื่อง

1.เป็นเรื่องที่ใกล้ตัวเด็ก
2.เป็นเรื่องที่สัมพันธ์กับชีวิตประจำวัน
3.เรื่องนั้นอาจจะมีผลกระทบ  เช่น  หมอกควัน   ฝุ่น

ดูเพิ่มเติมได้ที่  👉  หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย 2560

      เนื้อหาสาระควรสอดคล้องกับพัฒนาการของเด็ก ออกแบบกิจกรรม  การจัดประสบการณ์  สอดคล้องกับการให้เด็กลงมือกระทำ  วิธีการเล่น  เป็นวิธีการที่ทำให้  เกิดการเรียนรู้  👉  การเล่นลงมือกระทำต่อวัตถุด้วยประสาทสัมผัสทั้ง  5  เลือกและตัดสินใจด้วยตนเองอย่างมีความสุข
💚การเล่น  ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง  5เป็นเครื่องมือ   สอดคล้องกับการทำงานของสมอง
💚การคิดสำคัญกับคนในศตวรรษที่  21  การคิดวิเคราะห์ การสังเคราะห์   
💚ช่วงแรกเกิด - 6ปี  สมองเจริญเติบโตมากที่สุดเต็มที่ 80%

😍กิจกรรมที่  1    Mapping  สาระสำคัญทางคณิตศาสตร์

    อาจารย์ได้เก็บรวบรวมชิ้นงาน   Mapping  เรื่อง สาระสำคัญทางคณิตศาสตร์  เพื่อจะนำไปตรวจดูว่าควรแก้ไข ปรับปรุงอย่างไรของแต่ละคน  


👾วิธีการเขียน  Mapping  อย่างถูกต้อง  

1.การเขียนเริ่มจากข้อที่  1  ควรทำจากขวามือของเราแล้วเขียนวนทวนเข็มนาฬิกาไปเรื่อยๆ
2.ควรจัดให้เกิดความสมดุล
3.ตัวหนังสือต้องไปทางเดียวกัน
4.ควรแตกเส้นสั้นๆ  เพื่อทำให้มีที่ว่างที่จะเพิ่มเติ่มเนื้อหาส่วนต่อไปได้

    หลังจากนั้นอาจารย์ได้ให้กระดาษ  A4 มาทำ Mapping  เรื่อง  ไก่  🐓🐓🐓🐓🐓🐓

ขั้นตอนการทำ

1.ให้วางกระดาษ A4 ตามแนวนอน



2.ควรคิดหัวข้อใหญ่ขึ้นมา  
   2.1ไก่มีชื่อเรียกหลายชื่อแตกต่างกัน   สายพันธ์ุ
   2.2ลักษณะ  ประกอบด้วย 
              🐤สี       👉    (  ดำ , ขาว ,แดง  )   
              🐤เพศ   👉    ( เพศผู้  ,  เพศเมีย ) 
              🐤ขนาด   👉    ( ใหญ่  , กลาง ,  เล็ก )
              🐤ส่วนประกอบ   👉  ( หงอน , ขา , ตา  , ขน  )
              🐤พื้นผิว   👉   (  ลื่น ,นุ่ม  )
              🐤กลิ่น     👉    (สาบ ,  เหม็น  )
    2.3การดำรงชีวิต  👉    (  น้ำ , อากาศ , ที่อยู่อาศัย , เจริญเติบโต , อาหาร  )
    2.4ประโยชน์   👉  (  ประกอบอาหาร,  อาชีพสร้างรายได้,  เลี้ยงดูไว้เพื่อความสวยงาม , เกิดความสดุลทางธรรมชาติ )


   


      หลังจากนั้นอาจารย์ให้ทำเพื่อดูความเข้าใจของตนเอง และให้ส่งเพื่อดูความถูกต้องของแต่ละคนควรแก้ไข  ปรับปรุง  อย่างไร  




😍กิจกรรมที่  2  วิธีการจัดประสบการณ์ให้กับเด็กปฐมวัย

   อาจารย์ได้นำเรื่องไก่ที่ทำ Mapping มาเชื่อมโยงกับสาระสำคัญทางคณิตศาสตร์  เพื่อจะทำให้เข้าใจง่ายในเรื่องการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ให้กับเด็ก

ตัวอย่าง  เรื่องไก่   (  สาระสำคัญทางคณิตศาสตร์  )

   สาระที่  1  จำนวนและการดำเนินการ
💙จำนวนนับใช้บอกจำนวนของสิ่งของ  👉 การนบสานพันธุ์ของไก่  เช่นนับจนถึงตัวสุดท้าย นำตัวเลขจำนวนมาใส่
💙หาเกณฑ์ที่เลี้ยงดูเล่น  แยกเป็น  2 กลุ่ม
💙แยกไก่เลี้ยงเอาไว้เล่นและไก่ไม่ได้เลี้ยงเอาไว้เล่นแยกออกมา 
💙ไก่ทั้งหมดมีกี่ตัวมานับรวมกัน

   สาระที่ 2 การวัด
💙วัดความสูงของไก่
💙เรียงลำดับนำมาเปรียบเทียบ
💙เงินเหรียญ   ธนบัตร  ใช้ในการซื้อขาย  อาหารไก่  ยารักษาไก่
💙กลางวัน  กลางคืน  เวลานอนของไก่

   สาระที่  3  เรขาคณิต
💙ทิศทาง  ในการแต่งนิทาน
💙จำแนกรูปทรง 👉 ตัวไก่ วงรี  คอไก่  รูปทรงกระบอก  ( เกมการศึกษา  จับคู่เงาของไก่) 

   สาระที่  4  พีชคณิต 
💙ความสัมพันธ์ของที่อยู่อาศัยกับอาหาร  เช่น  ไก่  เล้า   หนอน   ไก่   .....   หนอน  ควรเติมอะไร

   สาระที่ 5  การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
💙จำนวนของไก่แต่ละวัน  แม่ไก่ออกไข่แต่ละวันกี่ฟอง
💙นำเสนอเป็นกราฟ
      อาหาร .....   เด็กชอบมากที่สุด     .......น้อยที่สุด
      .......ชอบมากกว่า..........แต่น้อยกว่า.........

    สาระที่ 6  ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
💙ขั้นอนุรักษ์  เด็กสามารถใช้เหตุผลไม่ต้องเห็นของจริงสามารถเชื่อมโยงได้

👧กิจกรรมที่ 3  จดหมายแผ่นพับ  รายงานผู้ปกครอง

   การสอนในแต่ละครั้งในแต่ละสัปดาห์  ต้องมีเครื่องมือความรู้ให้ผู้ปกครองช่วยให้เด็กได้เรียนรู้คณิตศาสตร์ตาม หน่วย  ...... ได้ง่าย  ดิฉันได้ทำในหน่วย  สับปะรด

ขั้นตอนวิธีการทำ

1.นำกระดาษ  -ขนาด A4   กระดาษสี พับเป็น  3 ส่วน



 

2.แบ่งหัวข้อในแต่ละหน้า
   💛หน้าปก  👉 มีตราโรงเรียนโลโก้  , ชื่อหน่วย , เด็กชื่อ .....   นามสกุล.....   ชั้น ......  , ครูประจำชั้นชื่อ......  นามสกุล........



    💛หน้าที่สามารถเปิดดูเนื้อหา 
หน้าที่ 1  💚 เรียนท่ายผู้ปกครอง   สัปดาห์นี้จัดเป็นหน่วย..... ซึ่ง......  ( ข้อมูลในหน่วย....คือ .......เพื่อให้ผู้ปกครองได้รับรู้  เรื่อง ..... )
หน้าที่ 2  💚 สาระน่ารู้เกี่ยวกับเรื่อที่ทำให้กับผู้ปกครองได้อ่าน
หน้าที่ 3  💚 สิ่งที่ให้ผู้ปกครองคุยกับลูก  เช่น สนทนากับลูกว่า .....  หรือให้ลูกวาดรูปที่เด็กรู้จัก  



   💛 หน้าที่พับปิดอยู่ข้างหลัง เช่น เชื่อมโยงจับคู่  ทำการโยง คำถามสั้นๆ   นิทานสั้นๆ



   💛หน้าสุดท้าย  ไม่ต้องเขียน




     อาจารย์ให้ทำแล้วถ่ายรูปลง BLOGGER  เป็นการให้ผู้ปกครองสนับสนุนเพื่อการเรียนรู้คณิตศาสตร์ มีวิธีการเลือกควรส่งเสริมอย่างไร และอาจารย์ได้กำหนดส่ง BLOGGER วันอาทิตย์ที่  12  ไม่เกินเที่ยง

     หลังจากนั้นอาจารย์ได้ปิดคอร์สการเรียนการสอนให้ทุกคนร่วมกันถ่ายรูป





😃บรรยากาศในห้องเรียน😄














               💦คำศัพท์💦
1.Essence                                           สาระสำคัญ
2.Person                                             บุคคล
3.Environment                                   สิ่งแวดล้อม
4.Nature                                             ธรรมชาติ
5.Effect                                              ผลกระทบ
6.Relationship                                   ความสัมพันธ์
7.Living                                            การดำรงชีวิต
8.ฺBalance                                          ความสมดุล
9.Quality                                           คุณภาพ
10.Difference                                    ความแตกต่าง



การประเมิน

ประเมินตนเอง  💕  วันนี้ได้รับความรู้และเข้าใจมากขึ้น ได้แสดงความคิดเห็นมีการโต้ตอบแลกเปลี่ยนความรู้กัน  เข้าใจในเรื่องคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยในการนำไปจัดประสบการณ์

ประเมินเพื่อนร่วมห้อง  💕เพื่อนๆ ตั้งใจเรียน  ทำงานที่อจารย์ได้มอบหมายและช่วยกันโต้ตอบอาจารย์ได้ดีมาก

ประเมินอาจารย์  💕 อาจารย์อธิบายเนื้อหาได้อย่างละเอียดของแต่ละสาระสำคัญทางคณิตศาสตร์และเน้นย้ำในสื่งที่ควรจำและสามารถนำความรู้ที่ได้รับนำไปปรับใช้ได้จริง



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น